Public Opinion is Clear: Urgent Legislation Required to Protect Children from Sexual Exploitation! Read the story

หากเป็นไปได้ เด็กชายในประเทศไทยต้องการหยุดขายบริการทางเพศ

“มันใช้เวลาไม่นานหรอก! แล้วคุณก็ได้เงินด้วย”
April 28th, 2021

Read The Story

านวิจัยชิ้นใหม่ของเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล (ECPAT International) ได้เผยมุมมองใหม่เกี่ยวกับเด็กชายที่เข้าสู่การขายบริการทางเพศ และตกเป็นผู้เสียหายเสียเอง จาก รายงานเผยให้เห็นช่องโหว่ขององค์ความรู้เกี่ยวกับที่มาที่ไปของการขายบริการทางเพศของเด็กชายเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นจากผู้ให้บริการสวัสดิการสังคมที่ทำงานโดยตรงกับตัวเด็ก ความเชื่อทางสังคมที่ยังเป็นปัญหาถกเถียง ทัศนคติต่อเพศชายและกลุ่มเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ การกล่าวโทษผู้เสียหาย และความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ในการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับความต้องการของเด็กชายที่ตกเป็นผู้เสียหายเหล่า

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เราจะเห็นความคลาดเคลื่อนขององค์ความรู้ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กชาย งานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่เด็กผู้หญิงมากกว่า ส่วนงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กชายนั้นมีอยู่ไม่มาก มีข้อบ่งชี้ว่าในบางสถานการณ์นั้นเด็กชายมักจะได้รับผลกระทบมากกว่าที่คิด ซ้ำร้ายในกลุ่มที่มีเพศวิถีและความหลากหลายในอัตลักษณ์ สถานการณ์จะยิ่งแย่ลงไปอีก

ดังนั้นในปีพศ. 2563 นี้ เอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนลได้ทำการสำรวจ โดยการพูดคุยกับเยาวชนเป็นจำนวน 20 คน ที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มความหลากหลาย SOGIE” เพื่อเรียนรู้ว่าพวกเขามีความเป็นอยู่อย่างไรจากการที่ต้องมีเพศสัมพันธ์เพื่อการแลกเปลี่ยนกับเงินและสิ่งของ ในกลุ่มนี้มีเด็กจำนวน 11 คน ที่ระบุเพศของตนว่าเป็นชาย อีก 6 คน เรียกตนเองว่า ‘สาวประเภทสอง’ ส่วนอีก 2 คน บอกว่าตัวเองเป็นผู้หญิงข้ามเพศ และอีก 1 คน เป็น ‘เพศทางเลือก’ ในจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดมีอายุระหว่าง 15-24 ปี และส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่ตัวเมือง ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่มีการขายบริการทางเพศมามากกว่า 1 ปีแล้ว และอีกกว่าครึ่งนึง เริ่มมีเพศสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินและสิ่งของตอนที่ยังเป็นเด็ก ทีมงานของเอ็คแพทยังต้องทำความเข้าใจอีกมาก เกี่ยวกับทัศนคติของนักสวัสดิการสังคมที่ทำงานกับเด็กชาย หลังจากได้พูดคุยกับนักสวัสดิการสังคมส่วนหน้า 65 ราย ทั้งในเชียงใหม่ กรุงเทพฯ และพัทยา นี่คือข้อมูลที่เราค้นพบ

SOGIE คืออะไร

คำว่า ‘SOGIE’ ย่อมาจาก ‘Sexual Orientation, Gender Identity and Expression’ (เพศวิถี, อัตลักษณ์ทางเพศ และการแสดงออก) ทั้งนี้ยังอาจรวมถึงกลุ่มคนที่รสนิยมทางเพศที่หลากหลาย เช่น เกย์ เลสเบี้ยน ไบเซกชวล และผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกทางเพศที่หลากหลาย คนทั่วไปต่างเข้าใจว่าเพศของเราเป็นแบบไบนารี (Binary) (กล่าวคือมีแค่ชายและหญิงเท่านั้น) แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีวิธีที่ผู้คนเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับเพศวิถีของตนอย่างหลากหลายมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละที่ ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยการอธิบายเพศที่นอกเหนือจาก “ชาย” และ “หญิง” จะใช้คำเช่น “เพศที่สาม” หรือ “สาวประเภทสอง” ซึ่งเป็นการกล่าวถึงคนที่มีอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนทั้งชายและหญิง แต่มีองค์ประกอบของทั้งสองเพศอยู่ด้วยกัน

เยาวชนที่ได้พูดคุยกับเรา

เด็กส่วนใหญ่ เติบโตมาจากครอบครัวที่ยากจน ต้องเผชิญกับความรุนแรงและการทารุณกรรม อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ที่เลวร้ายในครอบครัว เด็กเหล่านี้ ขาดความรักและการยอมรับในความเป็นตัวตนของพวกเขา หลายคนถูกทำร้ายทางจิตใจ ถูกกีดกันด้วยคำพูดดูถูกเหยียดหยาม และคำด่าทอต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเพราะพวกเขามีเพศวิถีและอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ “สาวประเภทสอง”

ในจำนวนเด็กทั้งหมดที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนกับ เงิน สิ่งของ ที่พักพิง ความคุ้มครอง หรือสถานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นครั้งแรก เกือบครึ่งหนึ่งเกิดขึ้นในวัยเด็ก ในจำนวนนี้มีเด็กที่อายุน้อยที่สุดคือ 12 ปี เด็กบางคนได้รับการชักชวนจากเพื่อนที่ทำอยู่ก่อนหน้าแล้ว ส่วนเด็กคนอื่นๆ คิดว่าวิธีนี้เป็นหนทางเดียว ในการสร้างรายได้ที่เพียงพอเพื่อความอยู่รอดของพวกเขา สาวประเภทสองรายนึงได้กล่าวไว้ว่า เธอรู้สึกว่าเธอต้องฝืนใจขายบริการทางเพศต่อไป เพราะว่าสาวประเภทสองมักถูกเลือกปฏิบัติในตลาดงาน

“ครั้งแรกของคุณคือตอนอายุ 12 ใช่มั้ย? ตอนนั้นรู้สึกอย่างไร?”

“ผมรู้สึกค่อนข้างกลัว ผมนั่งอยู่ตรงนั้นในขณะที่ลูกค้าขับรถผ่านมา แล้วเขาก็จอดรถและเดินเข้ามาหาผม เขาถามผมว่า ผมอยากไปกับเขามั้ย? แล้วเขาก็พูดอีกว่า “พี่ขอเวลาแป๊บเดียวนะ แล้วพี่จะให้เงินน้องด้��ย”

ชายหนุ่มเกย์อายุ 24 ปี จากจังหวัดอุดรธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

สาวประเภทสองคือใคร?

คำว่า “ladyboy” ในภาษาอังกฤษหรือ “katoey” ในภาษาไทย (กระเทย) ในบางครั้งถูกใช้ในทางที่เสื่อมเสีย โดยมักใช้ในทางดูหมิ่นหรือดูแคลน คำภาษาไทย “sao brapet song” (สาวประเภทสอง) นั้นหมายถึง ladyboy ในภาษาอังกฤษ (ที่แปลอย่างตรงตัวได้ว่า “ผู้หญิงประเภทที่สอง”) และเป็นคำที่สุภาพกว่า อย่างไรตามก็ยังมีบางกลุ่มที่ประสงค์จะใช้คำว่า “ladyboy” แทนตนเอง ส่วนการใช้คำว่า “เพศที่สาม” (สาวประเภทสอง) นั้นถือเป็นการสนับสนุน และเป็นการอธิบายถึงคนที่ไม่ใช่ชายหญิง หรือ non-binary ได้อย่างเป็นกลาง

ผู้กระทำผิดมักจะหาผลประโยชน์จากเด็กชาย ตราบใดที่พวกเขาสามารถหาช่องทางได้

เด็กเหล่านี้บอกว่า พวกเขาจะไปที่โรงแรมกับลูกค้า ส่วนคนที่ทำงานในสถานบันเทิงต่างๆ อย่างเช่น ร้านนวด หรือร้านคาราโอเกะ บอกว่าส่วนใหญ่สถานที่เหล่านั้นจะมีห้องที่มีไว้เพื่อให้บริการทางเพศโดยเฉพาะ ส่วนคนอื่น ๆ ก็จะไปในสถานที่ที่ที่ลูกค้าสะดวกที่สุด

“เมื่อคุณเข้าไปในบาร์ของสาวประเภทสอง คุณจะพบว่าพวกเธอจะสวมบิกินี่และเต้นรำ หากลูกค้ามาหรือลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติเข้ามาดูการแสดง พวกเขาจะเลือกคนที่พวกเขาต้องการมานั่งดื่มด้วย และหากพวกเขาชอบคุณและต้องการพาคุณออกไป พวกเขาก็จะพาคุณออกไปในที่สุด ตอนนั้นฉันรู้สึกอยากจะยอมแพ้ ฉันคิดว่าชีวิตของฉันจะต้องจบลง”

สาวประเภทสอง จากจังหวัดอุบลราชธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

เนื่องจากความกลัวความรุนแรงทางเพศที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็ก หลายคนต้อง “มีแผนป้องกันตนเอง”

เด็กส่วนใหญ่ที่เราพูดคุยด้วย ไม่สมัครใจที่จะเปิดเผยข้อมูลว่าพวกเขาเคยถูกกระทำความรุนแรงทางเพศหรือถูกข่มขืนมาก่อน และด้วยเหตุผลทางจริยธรรม เรามิอาจถามพวกเขาได้ตรงๆ เราแค่อยากให้พวกเขาแบ่งปันข้อมูลในส่วนที่พวกเขารู้สึกสบายใจที่จะบอกเรา ‘สาวประเภทสอง’ คนหนึ่งเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับลูกค้าที่ข่มขืนเธอ ในขณะที่เพื่อนของลูกค้าคนนั้นคอยดูเธอถูกกระทำ มันเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวดมากสำหรับเธอ

“มีลูกค้าคนหนึ่งจ่ายเงินให้ฉันออกไปข้างนอกกับเขา เพราะเขาไม่อยากนอนกับฉันในที่ที่ฉันทำงาน และฉันก็ไปกับเขา แต่เมื่อเขาเปิดห้อง เพื่อนของเขาก็อยู่ในห้องนั้นด้วย /…/ มีทั้งหมดสามคน เมื่อฉันเห็นว่าเขามีเพื่อนอยู่ในห้อง ฉันถามเขาว่าพาฉันกลับไปที่ร้านได้ไหม และบอกเขาว่าไม่ต้องจ่ายเงินให้ฉันก็ได้ แต่เขาต้องการให้ฉันอยู่ และเขาบอกว่าเขาจะไม่ทำอะไรฉัน พวกเขาเหล่านั้นใช้ยาเสพย์ติดด้วย แต่ฉันไม่ได้ใช้ จากนั้นลูกค้าคนนั้นก็เปลี่ยนใจและต้องการมีเซ็กส์กับฉันต่อหน้าเพื่อน ๆ ของเขา แต่ฉันได้ปฏิเสธไป เขาไม่สนใจด้วยซ้ำว่าเพื่อนของเขาอยู่ตรงนั้น และเมื่อฉันปฏิเสธเขา เขาก็เอาปืนจ่อหัวฉัน เขาบอกว่าฉันต้องนอนกับเขา และเพื่อนของเขาก็ไม่ได้สนใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับฉันด้วยซ้ำ ในเมื่อฉันอยากมีชีวิตรอด ฉันจึงปล่อยให้เขาทำในสิ่งที่เขาอยากทำกับฉัน”

สาวประเภทสองจากโคราช ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

เมื่อเราถามพวกเขาว่าพวกเขามีแผนรับมือต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น หรือวิธีการป้องกันตนเองอย่างไรถ้าหากมีคนพยายามทำร้ายพวกเขา ส่วนใหญ่ได้บอกกับเราว่าพวกเขาจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะเอาชีวิตรอด ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับคนเหล่านั้น วิ่งหนี หรือว่ายอมจำนนต่อสถานการณ์ และได้แต่หวังว่าเหตุการณ์จะไม่แย่ไปกว่านั้น

“ผมก็แค่เตรียมใจไว้แค่นั้น”

ชายหนุ่มเกย์ อายุ 21 ปี จากจังหวัดกำแพงเพชร ภาคกลางตอนบนของประเทศไทย

ทำไมเด็กชายถึงถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ?

สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง ผลกระทบที่ตามมา และความต้องการของเด็กผู้ชายที่ถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศมีมากมายและค่อนข้างซับซ้อน จากการศึกษานี้เราพบว่า ผู้ให้บริการด้านสวัสดิการและตัวเด็กเอง มักจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่อกันและกัน หรือแลกเเปลี่ยนความคิดและความเข้าใจกันอย่างตรงไปตรงมาในปัญหาเหล่านั้น

ด้วยขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม การที่ผู้ใหญ่จับต้องตัวเด็กผู้ชายมักถูกมองเป็นว่าเรื่องปกติ

การสัมผัสอวัยวะเพศ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทั่วไปในชุมชนท้องถิ่นหลายแห่งในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และมักเกี่ยวข้องกับการที่พ่อแม่ หรือญาติที่มีอายุมากกว่า จับ บีบ หรือจูบอวัยวะเพศของเด็กชายในขณะที่ยังเยาว์วัย เป็นจำนวนกว่า 72% ของเจ้าหน้าที่สวัสดิการได้เผยว่า นี่เป็นอาจปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในเด็ก ถึงแม้ว่าสิ่งนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็ก และจะลดความถี่ลงเมื่อเด็กโตขึ้นก็ตาม แต่ความคิดนี้ ก็สามารถทำให้เกิดความคลุมเคลือในขอบเขตและมุมมอง ที่แบ่งระหว่างสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำในความคิดของผู้คน

สื่อลามกของผู้ใหญ่ที่ถูกใช้ในการล่อลวงเด็กชาย แล้วก็โทษพวกเขาหรือแบล็คเมล

ปัจจัยอื่นๆ โดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ ที่เจ้าหน้าที่สวัสดิการได้ระบุไว้ได้แก่ การที่เด็กเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและสิ่งลามก แต่เด็กกลับมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้พวกเขาตกเป็นผู้ถูกกระทำ

การดูสื่อลามกสำหรับผู้ใหญ่ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างของสาเหตุที่เด็กถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศได้ – สาเหตุมาจากตัวผู้ใหญ่เอง

จากการศึกษาเอ็คแพท รู้ดีว่าการเข้าถึงสื่อลามกสำหรับผู้ใหญ่นั้นสามารถทำได้ไม่ยาก และมีส่วนทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราควรพิจารณาผลถึงกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กอย่างจริงจังมากกว่า เพราะมันได้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วที่มักจะพบผู้กระทำผิดจะแชร์เนื้อหาการล่วงละเมิดทางเพศเด็กอย่างผิดกฎหมาย และทำให้การมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่พวกเขาได้ล่อลวงมา กลายเป็นเรื่องปกติไปเสีย แต่หากจะกล่าวว่า การที่เด็กและเยาวชนดูสื่อลามกสำหรับผู้ใหญ่มีความเชื่อมโยง และเป็นเหตุให้เด็กเหล่านั้นถูกแสวงผลประโยชน์ทางเพศเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ มันเป็นรูปแบบของการกล่าวโทษเหยื่อที่ถือว่าเป็นผู้เสียหายและถูกล่วงละเมิด ดังนั้นข้อถกเถียงที่ว่าเด็กดูสื่อลามกสำหรับผู้ใหญ่เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กถูกผู้ใหญ่หาประโยชน์ทางเพศ จึงเป็นเรื่องที่ผิด

ปัจจัยทางครอบครัวเป็นแรงผลักดันให้เด็กชายขายบริการทางเพศเพื่อความอยู่รอด

ในอีกมุมมองนึง คนหนุ่มสาวที่ให้สัมภาษณ์ได้แสดงความคิดเห็นว่า ความยากจน ความรุนแรงในครอบครัว การถูกปฏิเสธและการเลือกปฏิบัติเนื่องจากเพศวิถีหรืออัตลักษณ์ของพวกเขา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พวกเขาขายบริการทางเพศ ปัญหาเหล่านี้ เป็นเหตุให้พวกเขาเริ่มที่จะใช้เวลากับเพื่อนๆ นอกบ้านมากขึ้นในช่วงแรกๆ และบางครั้งถึงขึ้นดืมแอลกอฮอล์และใช้ยาเสพย์ติด บ่อยครั้งเด็กเหล่านี้ จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์เพื่อแลกกับอิสรภาพทางการเงิน คนที่ให้สัมภาษณ์ 18 คน จากทั้งหมด 20 คนกล่าวว่า ถ้าเป็นไปได้พวกเขาก็อยากจะหยุดขายบริการทางเพศ

พวกเขายังบอกอีกว่าสวัสดิการรัฐหรือบริการช่วยเหลือต่างๆ ที่พวกเขาได้รับ ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น การให้การสนับสนุนด้านการเงิน ���ลับเป็นสิ่งที่มีอยู่น้อยที่สุด จากผลสำรวจในกรุงเทพมหานครพบว่า สวัสดิการหรือการสนับสนุนทางการเงินสำหรับครอบครัว และผู้ดูแลคนเหล่านั้นเป็น 0 เปอร์เซนต์ ทั้งๆ ที่การให้ความช่วยเหลือเหล่านี้ จะสามารถป้องกันไม่ให้เยาวชนขายบริการทางเพศก็ตาม ในขณะเดียวกัน ที่จังหวัดเชียงใหม่ 41% ของผู้ที่ให้สัมภาษณ์ ยังคงได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรที่ให้การสนับสนุนในลักษณะนี้อยู่บ้าง

การมีอคติอย่างไม่รู้ตัวในหมู่เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนเยาวชนเหล่านี้ เป็นเหตุให้กลุ่มเยาวชน SOGIE ขาดการช่วยเหลือ

เมื่อพิจารณาสถานการณ์ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการส่วนหน้าพบว่าเป็นงานที่ค่อนข้างท้าทาย ที่จะ ระบุว่ากรณีใดเกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์นั้นเกิดกับกลุ่มเยาวชน SOGIE เมื่อพิจารณาจากผลสำรวจแล้ว ข้อสันนิษฐานที่ว่า ‘เป็นธรรมชาติ’ ของเกย์และเยาวชนข้ามเพศที่มักจะมีพฤติกรรมสำส่อน มีส่วนทำให้พวกเขาเหล่านั้นถูกมองว่าพวกเขาไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ/ผู้เสียหาย

ตัวเด็กเองไม่สามารถเป็นผู้ให้ความยินยอมแก่ผู้ใหญ่ในการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากตน

เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในส่วนหน้าหลายคน ยังคงมีอคติโดยไม่รู้ตัวต่อเด็กที่ “มีส่วนเกี่ยวข้อง” กับการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากการกระทำของตน หากดูจากแนวโน้มแล้ว มีส่วนน้อยที่จะมองว่าผู้กระทำผิดได้กระทำการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก โครงการวิจัยของเอ็คแพท ได้แสดงจุดยืนว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ที่เด็กจะยินยอมให้ผู้ใหญ่แสวงหาประโยชน์ทางเพศอย่างแน่นอน แม้ว่าบางคนอาจโต้แย้งว่าพวกเขา “เลือก” ที่จะ “มีเพศสัมพันธ์” ด้วยตนเองก็ตาม ผู้ใหญ่ไม่ควรใช้เด็กเป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางเพศ เด็กชายมักไม่ถูกมองว่าเป็นผู้เสียหายเนื่องจากอคติหลายประการ แต่เราควรสร้างความเข้าใจที่ตรงกันว่า:

  • เด็กผู้ชายที่มีเซ็กซ์เพื่อการแลกเปลี่ยนกับเงินยังคงเป็นผู้เสียหาย
  • ถ้าเด็กถูกเรียกว่า “สำส่อน” เขาก็ยังคงเป็นผู้เสียหาย
  • หากเด็กชายเป็นเกย์และผู้กระทำผิดเป็นชาย เด็กชายก็ยังคงตกเป็นผู้เสียหาย
  • หากเด็กชายที่แลกเปลี่ยนทางเพศเป็นผู้เสพยา เขาก็ยังคงเป็นผู้เสียหาย
  • หากเด็กชายที่แลกเปลี่ยนทางเพศทำตัวเสเพล หรือถูกมองว่าเป็น “เด็กไม่ดี” เขาก็ยังคงตกเป็นผู้เสียหาย

การให้บริการส่วนใหญ่ไม่ได้มีไว้สำหรับเด็กผู้ชาย

มันยังคงเป็นเรื่องยาก สำหรับผู้เสียหายจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจำนวนมากเหล่านั้น ที่จะพูดถึงสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญมาในอดีต ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะมีข้อกำหนดพื้นฐาน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการส่วนหน้า ที่จะต้องรู้วิธีสร้างความไว้วางใจ และมีส่วนร่วมไปกับสถานการณ์ของพวกเขา ส่งเสริมให้พวกเขารู้จักเข้าถึงความช่วยเหลือ และเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้ให้บริการความช่วยเหลือ จากการที่เราได้พูดคุยด้วย เจ้าหน้าที่ส่วนหน้าตระหนักและรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้ร้องขอให้มีการฝึกทักษะให้กับพวกเขา เพื่อที่จะได้นำมาใช้ในการ “ทำงานร่วมกับเด็กชาย” และ “การรักษาความลับ” ในงานของพวกเขา

“คุณมีใครที่คุณนึกถึงเมื่อคุณต้องเผชิญกับความยากลำบาก?”

“ไม่มีเลย ผมไม่มีใคร”

“ที่ผ่านมาคุณพึ่งตัวเองมาโดยตลอดใช่ไหม?”

“ใช่ครับ ผมต้องพึ่งตัวเอง ผมไม่มีสมาชิกในครอบครัวหรือญาติคนไหนที่จะสามารถไปพึ่งได้ทุกคนก็ต่างยุ่งกับการทำงาน พวกเขาต้องทำมาหากิน ส่วนผมก็ต้องดูแลตัวเอง ผมต้องเอาตัวเองให้รอด”

ชายหนุ่มเกย์อายุ 23 ปี จากจังหวัดลำพูน ภาคเหนือของประเทศไทย

ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองเด็กในไทยให้ดีขึ้น

ผลการวิจัยของเราพบว่า กฎหมายของไทยยังขาดมุมมองทางเพศ ซึ่งหมายความว่ากฎหมายนี้สามารถใช้เพื่อคุ้มครองเด็กทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อเรียกร้องดังนี้:

  • เด็กที่ตกเป็นผู้เสียหายในการแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการค้าประเวณี มีความเสี่ยงที่จะถูกปฏิบัติ��าวกับว่าพวกเขาเป็นผู้กระทำความผิด เนื่องจากการกระทำใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย จึงไม่มีข้อยกเว้นที่คุ้มครองเด็กจากการถูกดำเนินคดี
  • การลงเนื้อหาการไลฟ์สดสตรีมมิ่งเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เด็กที่ถูกล่อลวงทางออนไลน์ และการข่มขู่แบล็คเมล ยังเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เรากำลังเขียนรายงานนี้ ทางการกำลังดำเนินการร่างพระราชบัญญัติขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีผลบังคับใช้กับอาชญากรรมสตรีมมิงไลฟ์สดและล่อลวงในช่องทางออนไลน์เหล่านี้

มันเป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินคดีกับเด็กที่ถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ ในข้อหาที่ว่า’มีส่วนเกี่ยวข้อง’ในการค้าประเวณี

  • กฎหมายได้กำหนดอายุความสำหรับความผิดฐานแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กไว้ที่ 15 ปี ในกรณีนี้หมายความว่าผู้กระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญา ถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาเกิน 15 ปี ณ วันที่รับรายงาน เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลการล่วงละเมิดทางเพศมักจะล่าช้ากว่าความเป็นจริง ดังนั้นจึงควรยกเลิกอายุความ สำหรับอาชญากรรมทางเพศต่อเด็กในข้อนี้
  • มีความท้าทายอย่างอย่างมาก ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อการรวบรวมพยานหลักฐาน และการรับพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลดิจิทัลในชั้นศาล มีการตั้งข้อสังเกตว่าไม่สามารถรับประกันได้ว่าพยานหลักฐานที่รวบรวมไปนั้น จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกดัดแปลงในระหว่างการสอบสวน
  • มีข้อกังวลว่า ระบบในการรับแจ้งเหตุและตอบสนองต่อรายงานเกี่ยวกับอาชญากรรมเหล่านี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากขาดหน่วยงานชำนาญการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยังไม่มีห้องสอบสวนที่เป็นมิตรกับเด็ก ในทุกภูมิภาคของประเทศ

เส้นทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

ในรายงานของเอ็คแพท มีรายละเอียดและข้อเสนอแนะจำนวนมาก เพื่อจัดการกับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศของเด็กผู้ชายและเยาวชนที่ระบุตัวตนว่าเป็นกลุ่ม SOGIE ประเทศไทยควรออกแบบและให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขามากขึ้นกว่านี้ เพิ่มความพร้อมของบริการ��ละสวัสดิการสำหรับเด็กผู้ชายโดยเฉพาะ พัฒนาการฝึกอบรมในระดับชุมชน เพื่อแก้ไขช่องว่างของความรู้และทัศนคติที่ยังคงเป็นปัญหาต่อเด็กผู้ชาย และกลุ่มหลากหลายทางเพศที่ถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ปรับปรุงการเข้าถึงบริการสวัสดิการ และทบทวนตัวบทกฎหมายที่กำหนดโทษผู้กระทำความผิดฐานค้าประเวณี เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเหล่านั้นถูก

หากคุณต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการแจ้งให้ใครทราบเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ โปรดติดต่อที่:

เชียงใหม่: มูลนิธิเออเบิร์น ไลท์ โทร. 053271179 และ www.Urban-Light.org

พัทยา: มูลนิธิซิสเตอร์ โทร. 0856993233 และ https://www.facebook.com/sistersfoundationTH

กรุงเทพฯ: สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย โทร. 0 2731 6533 และ www.rsat.info และ https://www.facebook.com/rsat.info