ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศไทยใน พ.ศ. 2567"
หน้าตา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นามสกุลจริงของเขาคือ ทรงแสง ป้ายระบุ: แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
ไม่มีความย่อการแก้ไข ป้ายระบุ: แก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
||
บรรทัด 132: | บรรทัด 132: | ||
**พันเอก [[ณรงค์ กิตติขจร]] [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] และ[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2534|สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2476) |
**พันเอก [[ณรงค์ กิตติขจร]] [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] และ[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2534|สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]] (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2476) |
||
** [[เนติพร เสน่ห์สังคม]] นักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538) |
** [[เนติพร เสน่ห์สังคม]] นักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538) |
||
* 16 พฤษภาคม – ขวัญจิตร ทรงแสง |
* 16 พฤษภาคม – ขวัญจิตร ทรงแสง นักแสดงชาวไทย<ref>{{Cite web|url=https://..//|=|website=|=}}</ref> |
||
* 17 พฤษภาคม – พลเอก[[วัฒนชัย วุฒิศิริ]] [[รายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]]และ[[รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม]] (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2478) |
* 17 พฤษภาคม – พลเอก[[วัฒนชัย วุฒิศิริ]] [[รายชื่อผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย|ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]]และ[[รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม]] (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2478) |
||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:16, 24 พฤษภาคม 2567
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024) ในประเทศไทย
ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- นายกรัฐมนตรี: เศรษฐา ทวีสิน (เพื่อไทย)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 26
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร: วันมูหะมัดนอร์ มะทา (ประชาชาติ)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 12
- ประธานวุฒิสภา: พรเพชร วิชิตชลชัย (แต่งตั้ง)
- ประธานศาลฎีกา: อโนชา ชีวิตโสภณ
เหตุการณ์
มกราคม
- 2 มกราคม – รถไฟฟ้าบีทีเอส เริ่มเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายแบริ่ง-เคหะฯ และส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต ในอัตรา 15 บาทตลอดสาย[1]
- 5 มกราคม – จะมีการเปิดจดหมายของปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษและอดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้มอบให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส[2]
- 7 มกราคม – รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
- 10 มกราคม – รอยเท้าไดโนเสาร์อายุ 225-220 ล้านปี ถูกค้นพบที่จังหวัดเพชรบูรณ์[3]
- 11 มกราคม – นิติ วิวัฒน์วานิช ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เสียชีวิตกะทันหันด้วยอาการหัวใจวาย[4]
- 16 มกราคม – คณะรัฐมนตรีเห็นชอบลดภาษีน้ำมันดีเซลลิตรละ 1 บาท มีผลถึงสิ้นเดือนเมษายน[5]
- 17 มกราคม –
- อานนท์ นำภา ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุกเพิ่มอีก 4 ปี ในข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา 112[6][7]
- ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ส.ส.และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ามีความผิดฐานปกปิดหุ้นในบริษัทแห่งหนึ่งทำให้ต้องลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค[8][9]
- 24 มกราคม –
- ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พ้นโทษจากคดีถือหุ้นไอทีวี ทำให้เขาได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรต่อ[10]
- ครูในโรงเรียนไม่ต้องอยู่เวรที่โรงเรียนหลังเวลาเรียนอีกต่อไปหลังเหตุการณ์ใช้อาวุธมีดบุกเข้าทำร้ายครูเมื่อวันที่ 20 มกราคม[11] ที่โรงเรียนบ้านโป่งเกลือ หมู่ที่ 4 ตําบลดอยลาน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- 31 มกราคม – ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์และพรรคก้าวไกลจากนโยบายหาเสียงเป็นล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[12]
กุมภาพันธ์
- 1 กุมภาพันธ์:
- เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ยื่นคำร้องต่อ กกต. ให้ยุบพรรคก้าวไกล[13]
- สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติประกาศการค้นพบกาแลคซีมวลน้อย 13 แห่งผ่านกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์[14]
- 2 กุมภาพันธ์: ยูเนสโกรับรองสงกรานต์เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้[15]
- 7 กุมภาพันธ์: รัฐบาลไทยและผู้แบ่งแยกดินแดนชาวมุสลิมเห็นพ้องถึงกระบวนการสันติภาพที่เป็นไปได้เพื่อยุติการก่อความไม่สงบซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2547[16]
- 11 กุมภาพันธ์[17]: เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เนื่องจากนายกอบต.ท่าม่วงถูกฆาตกรรม[18]
- 18 กุมภาพันธ์: ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการปล่อยตัว หลังพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจนาน 6 สัปดาห์ เนื่องจากอายุและสุขภาพของเขา[19][20]
มีนาคม
- 6 มีนาคม - วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ (อดีตหม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล) เดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3[21]
- 9 มีนาคม - ได้มีการเปิดตัวแอนิเมชันอิงประวัติศาสตร์ "๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ"[22][23]
- 24 มีนาคม - พิธีพระราชทานเพลิงศพพระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิติศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ)
- 26 มีนาคม – ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยี่ยมพรรคเพื่อไทยครั้งแรกในรอบ 17 ปี[24][25]
- 27 มีนาคม – สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติให้การสมรสของคนเพศเดียวกันถูกกฎหมายด้วยคะแนนเสียง 400 ต่อ 10 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง[26]
- 28 มีนาคม - จักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คนที่ 99 เดินทางกลับประเทศไทยในรอบ 15 ปี หลังลี้ภัยการเมือง
เมษายน
- 19 เมษายน - ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่ำสุดในรอบสามปีห้าเดือนเก้าวัน
- 20 เมษายน - กระสุนปืนจากประเทศพม่าเข้ามาในตำบลท่าสายลวดอำเภอแม่สอด[27]
พฤษภาคม
- 11 พฤษภาคม – วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 หมดวาระลง แต่ยังคงรักษาการในตำแหน่งไปจนกว่าจะมีวุฒิสภาชุดใหม่
- 14 พฤษภาคม – เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ (บุ้ง ทะลุวัง) นักกิจกรรมเคลื่อนไหวต่อต้านกฎหมายมาตรา 112 เสียชีวิต[28][29]
- 17 พฤษภาคม – การประชุมฟีฟ่าคองเกรส ครั้งที่ 74 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
- 21 พฤษภาคม – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับแจ้งการลงจอดฉุกเฉินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 321 มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายและบาดเจ็บ 104 ราย
- 23 พฤษภาคม - วัดสวนแก้ว ไฟไหม้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
- 31 พฤษภาคม – วอยซ์ทีวี หยุดการดำเนินกิจการ
เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น
- 20-24 พฤษภาคม – เปิดรับสมัครการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567
- 24 พฤษภาคม – วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ซึ่งรักษาการในตำแหน่ง สิ้นสุดการใช้อำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี
- การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 –
- 9 มิถุนายน – วันเลือกระดับอำเภอ
- 16 มิถุนายน – วันเลือกระดับจังหวัด
- 23 มิถุนายน – วันเลือกระดับประเทศ
- 2 กรกฎาคม – วันประกาศผลผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13
- 28 กรกฎาคม – พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
- ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) – เริ่มต้นโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท
- ไม่ทราบวันที่ - บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR East) ได้บริจาคขบวนรถไฟดีเซลรางรุ่นคิฮะ 40 และ 48 ซีรีส์ ที่ปลดระวางไปแล้วจำนวน 20 คันให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดย รฟท.ได้รับมอบขบวนรถไฟดังกล่าวโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายและต้องดำเนินการขนย้ายเอง[30]
- ไม่ทราบวันที่ - การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซ่อมปรับปรุงขบวนรถไฟ SRT Royal Blossom ที่ได้รับมอบบริจาคขบวนรถไฟ “ฮามานาซุ” โดยบริษัทรถไฟฮกไกโด (JR-Hokkaido Hamanasu) ได้บริจาคให้กับ รฟท. จำนวนทั้งหมด 10 คัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เสร็จสมบูรณ์[31]
ผู้เสียชีวิต
มกราคม
- 1 มกราคม – อังศณา ช้างเศวต พยาบาลและนักร้องชาวไทย (เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2505)[32]
- 2 มกราคม – ศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกิด 24 ตุลาคม พ.ศ. 2478)[33]
- 6 มกราคม – โอภาส พลศิลป อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี (เกิด 2 เมษายน พ.ศ. 2464)
- 11 มกราคม – นิติ วิวัฒน์วานิช อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2512)[34]
- 16 มกราคม - จุฬาลักษณ์ อิสมาโลน นักแสดง นางแบบ และนักร้องชาวไทย (เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521)[35]
- 20 มกราคม - พลเอก สำเภา ชูศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484)
- 23 มกราคม – ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พลตรีหญิง แพทย์หญิง วณิช วรรณพฤกษ์ อดีตคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และผู้ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นแพทยสภา ประจำปี พ.ศ. 2545 (เกิด 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484)
กุมภาพันธ์
- 1 กุมภาพันธ์ – รังสรรค์ มูลทองสงค์ (ต๊ะ ยมทูต) อดีตยูทูบเบอร์ชาวไทย[36]
- 5 กุมภาพันธ์ -
- เริงชัย ประภาษานนท์ อดีตนักเขียนชาวไทยและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (เกิด 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)[37]
- พระราชจินดานายก (คำอ้าย สิริธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2480)[38]
- ฉลามเพชร ศรพิชัย อดีตนักมวยชาวไทย[39]
- 8 กุมภาพันธ์ –
- 22 กุมภาพันธ์ - พรรวินท์ โพธิ์ทอง (เจมส์ เชิญยิ้ม) นักแสดงชาวไทย (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2510)[42]
- 25 กุมภาพันธ์ - พลเอกบุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (เกิด 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484)[43]
- 27 กุมภาพันธ์ - วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ พิธีกร วิทยากรและนิติกรชาวไทยและผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรมแมนเพาเวอร์ (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2499)[44]
มีนาคม
- 2 มีนาคม – มณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภาและนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2508)[45]
- 8 มีนาคม – สุรเดช แก้วท่าไม้ จิตรกรชาวไทย (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2506)[46]
- 12 มีนาคม – นนทพัฒน์ ศรีวิชัย นักแสดงและผู้กำกับละครชาวไทย (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2519)[47]
- 18 มีนาคม – ลือชัย งามสม นักดนตรีชาวไทย (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496)[48]
- 20 มีนาคม -
- ทองใส ทับถนน ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) นักดนตรีและนักแสดงและนักแต่งเพลงชาวไทย (เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)[49]
- พีระพงศ์ ตริยเจริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ (เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515)[50]
- วินัย ไกรบุตร นักแสดงชาวไทย (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2512)[51]
- 24 มีนาคม – สราวุธ ประทีปากรชัย นักฟุตบอลชาวไทย (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2490)[52]
- 31 มีนาคม – ณรงค์ชัย ศิษย์จอมยุทธ นักมวยชาวไทย[53]
เมษายน
- 3 เมษายน -
- ศาตราจารย์ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2512)[54]
- พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (เกิด 27 สิงหาคม พ.ศ. 2476)[55]
- 7 เมษายน – สรณัฐ มัสยวานิช นักแสดงชาวไทย (เกิด 7 มีนาคม พ.ศ. 2528)[56]
- 11 เมษายน -
- สมณะโพธิรักษ์ นักบวชชาวไทย เกิด (5 มิถุนายน พ.ศ. 2477)
- วรธนัท อัศกุลโกวิท (อาจารย์หม่า) ปรมาจารย์และนักธุรกิจชาวไทย (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2484)[57]
- 12 เมษายน – พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดศาลาลอย (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2476)[58]
- 13 เมษายน –
- นายแพทย์กัณฑ์เอนก สวีวงศ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลระแงะ จังหวัดนราธิวาส (เกิด 9 กันยายน พ.ศ. 2532)[59]
- กุศล กมลสิงห์ (บุญเหลือ ผดุงศิลป์) นักร้องเพลงรำวงชาวไทย (เกิด 28 กันยายน พ.ศ. 2477)[60]
- 19 เมษายน –
- กีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์และอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและผู้ตรวจราชการกระทวงพาณิชย์และรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510)[61]
- ทวี ไกรคุปต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482)
- 22 เมษายน –
- กิมไล้ บุญประเสริฐ นักธุรกิจชาวไทย (เกิด 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477)[62]
- เทิดภูมิ ใจดี นักเขียนชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษและแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2487)[63]
พฤษภาคม
- 1 พฤษภาคม — คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ อธิบดีกรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (เกิด 9 มีนาคม พ.ศ. 2474)[64]
- 6 พฤษภาคม — สุขุม สิมะขจรเกียรติ นักฟุตบอลชาวไทย[65]
- 11 พฤษภาคม - กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ คีตศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม[66]
- 14 พฤษภาคม –
- พันเอก ณรงค์ กิตติขจร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2476)
- เนติพร เสน่ห์สังคม นักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538)
- 16 พฤษภาคม – ขวัญจิตร ทรงแสง นักแสดงชาวไทย[67]
- 17 พฤษภาคม – พลเอกวัฒนชัย วุฒิศิริ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2478)
ดูเพิ่ม
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567
- ประเทศไทยในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024
- ประเทศไทยในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024
- ไทยลีก ฤดูกาล 2566–67
- ไทยลีก ฤดูกาล 2567–68
อ้างอิง
- ↑ 'ชัชชาติ' ลงนามประกาศเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 15 บาท มีผล 2 ม.ค. 67
- ↑ 10 ปริศนาในซองจดหมาย ปรีดี 2024
- ↑ "Dinosaur track find could be a first for Thailand". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-24.
- ↑ "Prachuap Khiri Khan's recently appointed governor has died". Hua Hin Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-01-11. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
- ↑ "Cabinet approves diesel tax cut, 2025 budget draft". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-24.
- ↑ "อานนท์ นำภา ถูกศาลพิพากษาจำคุกเพิ่ม 4 ปี จากคดีมาตรา 112 โพสต์เฟซบุ๊กปี 2564 รวมโทษจำคุกทั้งหมด 8 ปี". ไทยรัฐออนไลน์. 2024-01-17.
- ↑ "ศาลอาญา สั่งจำคุก"อานนท์ นำภา" อีก 4 ปี ไม่รอลงอาญา โพสต์เฟซบุ๊ก หมิ่นสถาบัน". มติชนออนไลน์. 2024-01-17.
- ↑ "Saksayam Chidchob: Will share concealment verdict halt political comeback king?". Thai PBS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-01-25.
- ↑ "29-year-old abandons Bhumjaithai and MP seat to pursue local role". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-19. สืบค้นเมื่อ 2024-01-25.
- ↑ "Thai court says popular politician Pita Limjaroenrat didn't violate law, can remain a lawmaker". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-01-24.
- ↑ "Teachers no longer required to stay on campus out of school hours". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-25. สืบค้นเมื่อ 2024-01-25.
- ↑ "Thai court orders election-winning party to end its royal reform campaign in blow to voters who backed change". CNN (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-31. สืบค้นเมื่อ 2024-01-31.
- ↑ "EC asked to seek Move Forward disbandment after court verdict". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-01. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
- ↑ "Thai astronomers discover 13 galaxies with James Webb Space Telescope". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-02. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
- ↑ "UNESCO - Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival". ich.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-02-07.
- ↑ "Thailand and Muslim separatist rebels agree on roadmap to peace, Malaysian facilitator says". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-07. สืบค้นเมื่อ 2024-02-07.
- ↑ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น 11 กุมภาพันธ์ 2567 เชิญชวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าคูหากากบาท
- ↑ เร่งล่ามือยิง "นายกมิง" สงขลา ตำรวจตั้ง 3 ปมสังหาร
- ↑ "Thaksin Shinawatra: Former Thai prime minister released on parole". BBC News. February 18, 2024. สืบค้นเมื่อ February 18, 2024.
- ↑ "Thailand's former Prime Minister Thaksin Shinawatra to be freed: Reports". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 13 February 2024. สืบค้นเมื่อ 13 February 2024.
- ↑ "ท่านอ้น" เดินทางมาไทยเป็นครั้งที่ 3 วันที่ 6 มี.ค. 2567
- ↑ "เปิดตัวแอนิเมชัน 2475 ประวัติศาสตร์แบบ "ทุกฝ่ายดูได้" ชมฟรีออนไลน์ 13 มี.ค.นี้". Manager Online. 2024-03-09.
- ↑ "'2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ' แอนิเมชันประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรดู". กรุงเทพธุรกิจ. 2024-03-09.
- ↑ ""ทักษิณ" I'm back เหยียบพรรคเพื่อไทยครั้งแรกในรอบ 17 ปี". ไทยพีบีเอส. 2024-03-26.
- ↑ ""ทักษิณ" เข้าพรรคเพื่อไทย รัฐมนตรี-สส.-คนเสื้อแดง รอรับคึกคัก!". PPTV Online. 2024-03-26.
- ↑ "MSN". www.msn.com. สืบค้นเมื่อ 2024-03-27.
- ↑ รู้ที่มาแล้วปมกระสุนปริศนา คามุ้งลวดบ้านที่แม่สอด จ.ตาก
- ↑ "ด่วน! "บุ้ง ทะลุวัง" เสียชีวิตแล้ว". ผู้จัดการออนไลน์. 2024-05-14.
- ↑ ""บุ้ง ทะลุวัง" เสียชีวิตแล้ว หลังหัวใจหยุดเต้น". PPTV Online. 2024-05-14.
- ↑ "คาด ก.พ.67 เริ่มขนย้ายรถไฟมือสองญี่ปุ่น Kiha 40 และ 48 รวม 20 คัน หลังได้ผู้รับจ้าง ราคา 48.6 ล้านบาท". เดลินิวส์. 2023-12-19.
- ↑ "เก่าเขาใหม่เรา เปิดตัวทางการ SRT Royal Blossom รถไฟบริจาคของญี่ปุ่น เวอร์ชั่นปรับปรุง". อีจัน. 2024-03-16.
- ↑ "อาลัย อังศณา ช้างเศวต นักร้องดังยุค 80 เจ้าของเพลง 'คู่กรรม' เสียชีวิต". มติชนออนไลน์. 1 January 2024. สืบค้นเมื่อ 1 January 2024.
- ↑ "สิ้น 'ศาสตราจารย์ คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี' อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์". มติชนออนไลน์. 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "ผู้ว่าประจวบฯ เสียชีวิตหลังผ่าตัด-หัวใจวายเฉียบพลัน". พีพีทีวี. 11 January 2024. สืบค้นเมื่อ 11 January 2024.
- ↑ "วงการบันเทิงเศร้า หญิง-จุฬาลักษณ์ อดีตเซ็กซี่สตาร์ชื่อดัง เสียชีวิตแล้ว". มติชนออนไลน์. 16 January 2024. สืบค้นเมื่อ 16 January 2024.
- ↑ "เอฟซีอาลัย 'ต๊ะ ยมทูต' เจ้าของวลี เซ็ตหย่อ 2 ห่อใส่ไข่ เสียชีวิตแล้ว". มติชนออนไลน์. 1 February 2024. สืบค้นเมื่อ 1 February 2024.
- ↑ ""เริงชัย ประภาษานนท์" ศิลปินแห่งชาติ 2562 นักเขียนผลงานอินทรีแดง เสียชีวิต วัย 94 ปี". ไทยพีบีเอส. 5 February 2024. สืบค้นเมื่อ 5 February 2024.
- ↑ "สิ้น พระราชจินดานายก มหาเถระเมืองลำปาง ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 87 ปี". มติชนออนไลน์. 5 February 2024. สืบค้นเมื่อ 5 February 2024.
- ↑ "วงการมวยไทยสิ้น ฉลามเพชร ศรพิสัย เสียชีวิตก่อนขึ้นชกไม่กี่วัน". มติชนออนไลน์. 5 February 2024. สืบค้นเมื่อ 5 February 2024.
- ↑ "เพียงใจ หาญพาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เสียชีวิต อายุ 100 ปี". มติชนออนไลน์. February 8, 2024. สืบค้นเมื่อ February 8, 2024.
- ↑ "อาลัย 'เศรษฐภัทร จีระกุลธนันต์' นักธุรกิจใจบุญเมืองโคราช สิ้นใจอย่างสงบ". มติชนออนไลน์. February 8, 2024. สืบค้นเมื่อ February 8, 2024.
- ↑ "เพื่อนตลก อาลัย 'เจมส์ เชิญยิ้ม' เสียชีวิต หลังเข้ารักษาตัวในไอซียู". มติชนออนไลน์. February 22, 2024. สืบค้นเมื่อ February 22, 2024.
- ↑ "สิ้น "พลเอกบุญรอด สมทัศน์" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เสียชีวิตแล้ว". TOP News. 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.
- ↑ "แห่อาลัย อาจารย์วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ วิทยากร-นักพูดชื่อดัง จากไปอย่างสงบ". มติชนออนไลน์. 27 February 2024. สืบค้นเมื่อ 27 February 2024.
- ↑ "ส.ว.มณเฑียร บุญตัน อดีตนายกสมาคมคนตาบอด ถึงแก่อนิจกรรม". มติชนออนไลน์. 2 March 2024. สืบค้นเมื่อ 2 March 2024.
- ↑ "สิ้นจิตรกรชื่อดัง "อาจารย์สุรเดช แก้วท่าไม้" เสียชีวิตแล้ว สิริอายุ 60 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 8 March 2024. สืบค้นเมื่อ 8 March 2024.
- ↑ ""เอฟ นนทพัฒน์" เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งในวัย 47 ปี". พีพีทีวี. 2024-03-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แฟนเพลงเศร้า สิ้น ป๋าดุก คาราบาว มือคีย์บอร์ดเพื่อชีวิต ในวัย 70 ปี". มติชนออนไลน์. 18 March 2024. สืบค้นเมื่อ 18 March 2024.
- ↑ "สิ้น 'ทองใส ทับถนน' ครูพิณ ตำนานวงเพชรพิณทอง ศิลปินมรดกอีสาน". มติชนออนไลน์. 20 March 2024. สืบค้นเมื่อ 20 March 2024.
- ↑ "พีระพงศ์ ตริยเจริญ อดีตผู้จัดการระบบ TCAS เสียชีวิตแล้ว". มติชนออนไลน์. 20 March 2024. สืบค้นเมื่อ 20 March 2024.
- ↑ "สุดอาลัย "เมฆ วินัย" เสียชีวิต ปิดตำนานพระเอกร้อยล้าน". พีพีทีวี. 2024-03-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วงการลูกหนังไทยเศร้า! สิ้น "สราวุธ ประทีปากรชัย" นายด่านอลป.ที่เม็กซิโก". SIA Msport. 24 March 2025. สืบค้นเมื่อ 24 March 2024.
- ↑ "วงการมวยเศร้า สิ้น 'ณรงค์ชัย ศิษย์จอมยุทธ' นักชกดาวรุ่งเมืองย่าโม". มติชนออนไลน์. 31 March 2024. สืบค้นเมื่อ 31 March 2024.
- ↑ "สุดอาลัย! มะเร็งปอดคร่า 'อาจารย์ มช.' เผยสูญเสียเป็นรายที่ 4 เชื่อสาเหตุจากฝุ่น PM 2.5". เดลินิวส์. 3 April 2024. สืบค้นเมื่อ 3 April 2024.
- ↑ "สิ้น 'บิ๊กเต้' พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล อดีตผบ.ทอ.-อดีตผบ.สส. วัย 90 ปี". มติชนออนไลน์. 3 April 2024. สืบค้นเมื่อ 3 April 2024.
- ↑ "อาลัย! "เบียร์ สรณัฐ มัสยวานิช" อดีตนักแสดงซิตคอม เสียชีวิต". พีพีทีวี. 7 April 2024. สืบค้นเมื่อ 7 April 2024.
- ↑ "ลูกศิษย์อาลัย มิสเตอร์หม่า อาจารย์ฮวงจุ้ยชื่อดัง เสียชีวิตแล้ว". มติชนออนไลน์. 11 April 2024. สืบค้นเมื่อ 11 April 2024.
- ↑ "ลูกศิษย์อาลัย สิ้น พระพรหมวชิรโมลี รองอธิการบดี มหาจุฬาฯ มรณภาพ สิริอายุ 90 ปี". มติชนออนไลน์. 12 April 2024. สืบค้นเมื่อ 12 April 2024.
- ↑ "อาลัย นายแพทย์กัณฑ์เอนก หมอใจดีรพ.ระแงะ ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต". มติชนออนไลน์. 13 April 2024. สืบค้นเมื่อ 13 April 2024.
- ↑ "อาลัย 'กุศล กมลสิงห์' ราชาเพลงรำวง ตำนานเพลง 'รักกลางจันทร์' ด้วยวัย 90 ปี". bangkokbiznews. 2024-04-13.
- ↑ "กีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เสียชีวิต อายุ 56 ปี". ประชาชาติธุรกิจ. 19 April 2024. สืบค้นเมื่อ 19 April 2024.
- ↑ "อาลัย "แม่กิมไล้" ยอดหญิงแกร่งเจ้าของร้านขนมหม้อแกงเพชรบุรี". พีพีทีวี. 22 April 2024. สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
- ↑ "อาลัย เทิดภูมิ ใจดี อดีตส.ส.ผู้นำแรงงานยุค 14 ตุลา เสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 80 ปี". มติชนออนไลน์. 22 April 2024. สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
- ↑ chanhena, Bandit. "อาลัย ศิลปินแห่งชาติ "คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ" ถึงแก่กรรม สิริอายุ 93 ปี". เดลินิวส์.
- ↑ "แห่อาลัยเพียบ "อดีตนักเตะไทยลีก" เสียชีวิตสุดช็อก พบศพในแม่น้ำบางปะกง". ไทยรัฐออนไลน์. 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.
- ↑ "วงการบันเทิงเศร้า ครูแป๊ะ กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ ศิลปินดัง เสียชีวิตด้วยโรคระเม็งปอด". มติชนออนไลน์. 11 May 2024. สืบค้นเมื่อ 11 May 2024.
- ↑ ""จอย ชวนชื่น" เผยเคยแอบร้องไห้เพราะ"ขวัญจิตร ทรงแสง" ด้าน "โหน่ง ชะช่าช่า" โพสต์อาลัย".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)