ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช"
Meedaphon23 (คุย | ส่วนร่วม) ย้อนการแก้ไขที่ 11536210 สร้างโดย Meedaphon23 (พูดคุย) ป้ายระบุ: ทำกลับ |
Meedaphon23 (คุย | ส่วนร่วม) ย้อนการแก้ไขที่ 11536206 สร้างโดย Meedaphon23 (พูดคุย) ป้ายระบุ: ทำกลับ |
||
บรรทัด 32: | บรรทัด 32: | ||
การก่อตั้งมหาวิทยาลัยปิด เป็นความพยายามของรัฐบาลในการที่จะขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ได้เคยนำมาใช้แล้วในประเทศไทย โดย[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดการศึกษาระบบ '''"ตลาดวิชา"''' โดยไม่จำกัดรับนักศึกษา เป็นครั้งแรก แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบมหาวิทยาลัยปิด (จำกัดการรับนักศึกษา) เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อมาปี พ.ศ. 2514 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] แต่มหาวิทยาลัยรามคำแหงยังคงจัดการศึกษาโดยอาศัยชั้นเรียนเป็นหลัก ทำให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงประสบปัญหาในด้านอาคารสถานที่เรียนเป็นอันมาก ทำให้ไม่สามารถขยายให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปีได้ ทางรัฐบาลเล็งเห็นว่าหากรัฐบาลให้การสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการศึกษาให้เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียนแล้ว จะทำให้ภาครัฐต้องรับผิดชอบภาระด้านงบประมาณมากขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุด |
การก่อตั้งมหาวิทยาลัยปิด เป็นความพยายามของรัฐบาลในการที่จะขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ได้เคยนำมาใช้แล้วในประเทศไทย โดย[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดการศึกษาระบบ '''"ตลาดวิชา"''' โดยไม่จำกัดรับนักศึกษา เป็นครั้งแรก แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบมหาวิทยาลัยปิด (จำกัดการรับนักศึกษา) เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อมาปี พ.ศ. 2514 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] แต่มหาวิทยาลัยรามคำแหงยังคงจัดการศึกษาโดยอาศัยชั้นเรียนเป็นหลัก ทำให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงประสบปัญหาในด้านอาคารสถานที่เรียนเป็นอันมาก ทำให้ไม่สามารถขยายให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปีได้ ทางรัฐบาลเล็งเห็นว่าหากรัฐบาลให้การสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการศึกษาให้เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียนแล้ว จะทำให้ภาครัฐต้องรับผิดชอบภาระด้านงบประมาณมากขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุด |
||
ดั<ref>{{Cite web |url=https://intrend.trueid.net/article/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B8%9B-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A-trueidintrend_198610 |title=เรียน ป.ตรี ทางไปรษณีย์...มีอยู่จริง กับ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช |date= 23 October 2020 |publisher=True Digital & Media Platform |access-date=12 June 2022 |df=dmy-all}}</ref> |
|||
=== การสถาปนามหาวิทยาลัย === |
=== การสถาปนามหาวิทยาลัย === |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:23, 29 พฤษภาคม 2567
ตราพระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 "ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย" | |
ชื่อย่อ | มสธ. / STOU |
---|---|
คติพจน์ | เรียนอย่างมีความสุข จบอย่างมีคุณภาพ , มสธ.ที่ไหนเวลาใด ใคร ๆ ก็เรียนได้ |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยเปิด |
สถาปนา | 5 กันยายน พ.ศ. 2521 |
อธิการบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ รักษาราชการแทน[1] |
ที่ต��้ง | |
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย | ปาริชาติ (ทองหลางลาย) |
สี | ████ สีเขียว สีทอง |
เว็บไซต์ | www.stou.ac.th |
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (อังกฤษ: Sukhothai Thammathirat Open University; อักษรย่อ: มสธ. – STOU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบรับจำนวนจำกัด โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 ตาม พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พุทธศักราช 2521[2]
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี แบบมหาวิทยาลัยปิดโดยรับนักศึกษาจำกัดจำนวน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดการศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในบางสาขาวิชา[3] โดยมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา[4]
ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในอดีต ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศที่ 1/2560 เข้าควบคุมมหาวิทยาลัยเนื่องจากกรณีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ขอลาออกจากตำแหน่งจนทำให้เหลือกรรมการไม่ครบองค์ประกอบตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521[5] และยกเลิกประกาศควบคุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[6]เนื่องจากมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นที่เรียบร้อยแล้ว[7]
ประวัติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบ "มหาวิทยาลัยปิด" กล่าวคือรับนักศึกษาจำกัดจำนวน โดยมหาวิทยาลัยมีชั้นเรียนตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยปิดและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาซึ่งดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล จัดการเรียนการเรียนการสอนแบบตลาดวิชาโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น
แนวคิดของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยปิดในประเทศไทย
การก่อตั้งมหาวิทยาลัยปิด เป็นความพยายามของรัฐบาลในการที่จะขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ได้เคยนำมาใช้แล้วในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดการศึกษาระบบ "ตลาดวิชา" โดยไม่จำกัดรับนักศึกษา เป็นครั้งแรก แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบมหาวิทยาลัยปิด (จำกัดการรับนักศึกษา) เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อมาปี พ.ศ. 2514 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่มหาวิทยาลัยรามคำแหงยังคงจัดการศึกษาโดยอาศัยชั้นเรียนเป็นหลัก ทำให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงประสบปัญหาในด้านอาคารสถานที่เรียนเป็นอันมาก ทำให้ไม่สามารถขยายให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปีได้ ทางรัฐบาลเล็งเห็นว่าหากรัฐบาลให้การสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการศึกษาให้เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียนแล้ว จะทำให้ภาครัฐต้องรับผิดชอบภาระด้านงบประมาณมากขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
ดั[8]
การสถาปนามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521[9] มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ วันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็น วันสถาปนามหาวิทยาลัย
อธิการบดีคนแรก
ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดแรก[10] รวมทั้งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีคนแรก
การเปิดดำเนินการการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
หลังจากได้ใช้เวลาเตรียมการด้านต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมที่จะเปิดสอนเป็นเวลาประมาณ 2 ปี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2523[11] สาขาวิชาที่เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ[12] โดยมี ผู้สนใจลงทะเบียนเรียน จำนวน 11,152 คน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยได้ขยายการรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นในสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์(มนุษยนิเวศศาสตร์) และสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ ปีการศึกษา 2526(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์) มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชารัฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2527 เปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ในปีการศึกษา 2538 มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และในปี พ.ศ. 2544 ได้เปิดสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เพิ่มขึ้นอีกสาขาวิชาหนึ่ง รวมเป็น 12 สาขาวิชา
ปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงมีอำนาจให้ปริญญาบัตร และประกาศนียบัตรที่มีศักดิ์และสิทธิเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยของรัฐอื่น ๆ ทุกประการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรก ณ อาคารใหม่สวนอัมพร เมื่อวันที่ 26 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรุ่นแรก (ประจำปีการศึกษา 2525) ซึ่งในปีนั้นมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 9,594 คน จาก 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ [13]
ในอดีต ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน นับเป็นความภูมิใจของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อย่างหาที่สุดมิได้
สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ตราประจำมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์เรียงกันบนบันไดแก้ว ได้แก่ "พระแสงศรพรหมศาสตร์" "พระแสงอัคนิวาต" "และพระแสงศรพลายวาต" ประดิษฐานอยู่ภายใต้ พระมหามงกุฏ นำมาประกอบกับส่วนยอดของ "เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย และมีข้อความ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช" อยู่ในแถบริ้วเบื้องล่าง เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย[14]
เสื้อครุยของมหาวิทยาลัย
เสื้อครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเป็นเสื้อคลุม ผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน มีแถบสีทองทาบทับด้วยแถบทองบริเวณอกเสื้อทั้งสองข้างมีวงกลมสีทอง กลางวงมีตรามหาวิทยาลัย ปริญญาตรี มี 1 วง ปริญญาโทมี 2 วง ปริญญาเอก มี 3 วง[15]
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยกำหนดให้ ต้นปาริชาตหรือต้นทองหลางลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีใบเป็นสีเขียวและเส้นใบเป็นสีทอง ตรงกับสีเขียว-ทองซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย
สีประจำมหาวิทยาลัย
"สีเขียว - ทอง" เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย
- ██ สีเขียว เป็นสีประจำวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ██ สีทอง เป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล
อาคารที่สำคัญในมหาวิทยาลัย
- อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นอาคารสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งได้ประยุกต์สถาปัตยกรรมไทยสมัยสุโขทัยมาใช้ในการออกแบบก่อสร้าง โดยมี รองศาสตราจารย์ ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ออกแบบ การจัดวางอาคารนั้นตั้งอยู่กึ่งกลางของอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก จัดเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดในมหาวิทยาลัย[16]
- อาคารอเนกนิทัศน์ เป็นหอประชุมขนาดใหญ่ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย
- หอพระ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 60 นิ้ว ตัวอาคารหอพระออกแบบโดย รองศาสตราจารย์ ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ โดยตัวอาคารมีเอกลักษณ์สะท้อนรูปลักษณะศิลปสุโขทัย อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย ตัวอาคารสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551 การจัดวางอาคารนั้นตั้งอยู่บริเวณมุมด้านเหนือของอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก ใกล้กับถนนหลักภายในมหาวิทยาลัย ตัวอาคารยกพื้นสูงจากระดับปกติ จึงทำให้มีความโดดเด่นสะดุดตา[17]
- ห้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ตั้งอยู่ ณ อาคารบรรณสาร ชั้นสอง ออกแบบตกแต่งด้วยรูปลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 7 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและให้บริการข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2468–2477[18]
หน่วยงาน
หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีดังนี้
|
|
สาขาวิชาที่เปิดสอน
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดทำการเรียนการสอนทั้งในระดับประกาศนียบัตร, ปริญญาบัณฑิต, ประกาศนียบัตรบัณฑิต, และปริญญามหาบัณฑิต กระจายไปตามสาขาวิชาต่าง ๆ โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีสาขาวิชาทั้งหมด 12 สาขาวิชา (เป็นหน่วยงานตามประกาศกระทรวงฯ 10 สาขาวิชา[19] เป็นหน่วยงานภายใน 2 สาขาวิชา) ดังนี้
|
หมายเหตุ: สาขาวิชาเทียบเท่ากับคณะวิชาของมหาวิทยาลัยทั่วไป
โครงการเรียนล่วงหน้า
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยังเปิดการเรียนทางไกลให้สำหรับนักเรียนหรือบุคคลที่ต้องการเรียนล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องมีวุฒิการศึกษา ไม่ต้องสมัครเป็นนักศึกษาในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งก็ได้ เมื่อสอบผ่านแล้วผู้เรียนยังสามารถ โอนชุดวิชาที่เรียนผ่านเข้าเป็นชุดวิชาในหลักสูตรที่ต้องการศึกษาในภายภาคหน้าได้ ซึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- โครงการสัมฤทธิบัตร[20] (สำหรับชุดวิชาในหลักสูตรปริญญาตรี)
- โครงการสัมฤทธิบัตรบัณฑิต[21] (สำหรับชุดวิชาในหลักสูตรปริญญาโท)
ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์
ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ศวช.) เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัย โดยเริ่มเปิดศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2534
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ทั้งสิ้น 12ศูนย์ กระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ ครบทุกภาคของประเทศไทย ดังนี้[22]
ศูนย์บริการการศึกษาในต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการศึกษาสำหรับคนไทยในต่างประเทศโดยได้รับความร่วมมือจากกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตให้กับคนไทยในต่างประเทศ ได้เพิ่มพูนความรู้และเพิ่มคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการจัดการศึกษาสำหรับคนไทยในประเทศต่างประเทศ ดังนี้
|
|
ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องเดินทางมาเข้ารับการฝึกอบรมชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ หรือชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ ณ สถานที่ที่มหาวิทยาลัยฯ จัดให้โดยใช้เวลาในการฝึกอบรมประมาณ 4–5 วัน นอกจากประเทศ/เมืองที่มหาวิทยาลัยยังมีการให้บริการจัดสอบในต่างประเทศ
รายนามอธิการบดี
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีอธิการบดีมาแล้ว 6 คน และ รักษาการแทนอธิการบดี 6 คน ดังรายนามต่อไปนี้
รายนามอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | ||
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง |
---|---|---|
1. ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน |
7 มกราคม พ.ศ. 2522 – 7 มกราคม พ.ศ. 2526 (วาระที่ 1) |
[23] |
2. ศาสตราจารย์ เอี่ยม ฉายางาม |
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 – 20 พฤศจิกายน ��.ศ. 2534 (วาระที่ 1) |
[24] |
3. รองศาสตราจารย์ ทองอินทร์ วงศ์โสธร |
22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 |
[25] |
4. ศาสตราจารย์ ปรัชญา เวสารัชช์ |
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 |
[26] |
5. รองศาสตราจารย์ ปราณี สังขะตะวรรธน์ |
30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 |
[27] |
6. รองศาสตราจารย์ สมจินต์ สันถวรักษ์ |
30 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 31 มกราคม พ.ศ. 2556 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี) |
[28] |
7. รองศาสตราจารย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย |
31 มกราคม พ.ศ. 2556 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559[29] |
[30] |
8. รองศาสตราจารย์ ภาณุมาศ ขัดเงางาม |
25 มีนาคม พ.ศ. 2560 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้แทนสภาวิชาการ รักษาการแทนอธิการบดี) |
[31] |
9. ศาสตราจารย์ ประสาท สืบค้า |
23 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี) |
[32] |
10. รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา |
1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี) |
[33] |
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พนมพัทธ์ สมิตานนท์ |
1 มกราคม พ.ศ. 2567 (กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดี) |
[34] |
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 5 คน และทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย 2 คน ดังรายนามต่อไปนี้
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | ||
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง |
---|---|---|
1. ศาสตราจารย์กิตติคุณ เกษม สุวรรณกุล |
24 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 1) |
[35] |
2. ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน |
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (วาระที่ 1) |
[36] |
3. ศาสตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช |
22 กันยายน พ.ศ. 2533 – 21 กันยายน พ.ศ. 2535 |
[37] |
4. อาชว์ เตาลานนท์ |
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (วาระที่ 1) |
[38] |
5. ศาสตราจารย์ คณิต ณ นคร |
พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2557 (ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยและอุปนายกสภามหาวิทยาลัย) |
[39] |
6. รองศาสตราจารย์ องค์การ อินทรัมพรรย์ |
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 |
[40] |
7. นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ |
1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน (อุปนายกสภ��มหาวิทยาลัยทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย) |
การจัดอันดับมหาวิทยาลัย
การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 มสธ. อยู่ในอันดับที่ 5,571 ของโลก อันดับที่ 265 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[41] อันดับที่ 47 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[42]
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อ้างอิง
- ↑ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
- ↑ "ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2016.
- ↑ "ข้อมูลการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา". มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ลักษณะการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2560. เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง. หน้า ๓๓. ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2561. เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๙๐ ง. หน้า ๖๐. ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" (PDF).. เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๔๙ ง. ๖ มีนาคม ๒๕๖๑.
- ↑ "เรียน ป.ตรี ทางไปรษณีย์...มีอยู่จริง กับ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช". True Digital & Media Platform. 23 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2022.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521. เล่ม ๙๕ ตอน ๙๙. หน้า ๑. ๒๑ กันยายน ๒๕๒๑.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๙๕ ตอน ๑๒๕. ฉบับพิเศษ หน้า ๑. ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑.
- ↑ "จดหมายเหตุบอกเล่า เรื่อง การเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก". หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ฝ่ายบริการสารสนเทศ สำนักบรรณสารสนเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๙๖ ตอน ๒๘. หน้า ๑๑๗. ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒.
- ↑ "จดหมายเหตุบอกเล่า ตอน พิธีพระราชทานปริญญาบัตร". หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ฝ่ายบริการสารสนเทศ สำนักบรรณสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พิชัย วาศนาส่ง เป็นผู้ออกแบบตราประจำมหาวิทยาลัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ๒๕๒๔. เล่ม ๙๘ ตอน ๑๘๐. หน้า ๗. ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔.
- ↑ "Thai Architecture Pinyo Suwankiri – Pagodas". thai-architecture.com. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "30 ปี แห่งการสถาปนา มสธ. สร้างหอพระ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 60 ปี". ไทยพีอาร์ ดอตเน็ต. 3 กรกฎาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2008.
- ↑ พิธีเปิดห้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๖๘ ง. หน้า๑๑. ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕.
- ↑ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. โครงการสัมฤทธิบัตร.
- ↑ ��หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. โครงการสัมฤทธิบัตรบัณฑิต.
- ↑ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักวิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕. หน้า ๔๘๖. ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๓. ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔. ๗ มกราคม ๒๕๒๖.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๘. หน้า ๖๐๔๖. ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๙. - ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๔. ฉบับพิเศษ หน้า ๑. ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๐.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๗๘. หน้า ๙๘๓๘. ๘ ตุลาคม ๒๕๓๔.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๖๔ ง. หน้า ๑๔. ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๘. - ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๓๒ ง. หน้า ๔. ๒๐ เมษายน ๒๕๔๓.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๕๒ ง. หน้า ๓. ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๗.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง. หน้า ๑๗. ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑.
"Today News". STOU Variety. 5 ตุลาคม 2020 – โดยทาง เฟซบุ๊ก. - ↑ "ระเบียบวาระการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 11/2554 วันที่ 27 ธันวาคม 2554". สำนักงานสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มกราคม 2012.
"แจงเหตุสั่งปลดปลดอธิการบดี มสธ". กรุงเทพธุรกิจ. 10 มิถุนายน 2016. - ↑ "สภามีมติ 9:2 ปลดอธิการบดีมสธ. เหตุ ทำงานร่วมกันสภาฯไม่ได้". มติชน. 9 มิถุนายน 2016.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๑๘ ง. หน้า ๕. ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖.
- ↑ "ดร.สมจินต์ สันถวรักษ์ ลาออกโค้งสุดท้ายก่อนเลือกอธิการ มสธ.คนใหม่". สำนักข่าวอิศรา. 23 มีนาคม 2017.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. - ↑ "ตั้ง "ประสาท" นั่งรักษาการ มสธ". ไทยรัฐ. 23 มีนาคม 2018.
- ↑ "สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง 'มานิตย์ จุมปา' เป็นผู้รักษาการแทนอธิการบดี มสธ". สำนักข่าวอิศรา. 1 ตุลาคม 2021.
- ↑ คำสั่งสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เก็บถาวร 2022-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. - ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. - ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. - ↑ "ประวัตินายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย มสธ". สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2016.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
- ↑ "Ranking web of Universities – South East Asia". Webometrics Ranking of World Universities. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "Ranking web of Universities – Thailand". Webometrics Ranking of World Universities. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
ดูเพิ่ม
- มหาวิทยาลัยเปิด
- รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวของประเทศไทย
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- "ขจรกลิ่นปาริชาต จากบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช". นิตยสารสกุลไทย. ปีที่ 47 ฉบับที่ 2442. กรกฎาคม 2544. ISSN 0125-068X.
- การศึกษาในระบบทางไกล ดีอย่างไร. ศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนครนายก
- ชมรมเพื่อน มสธ. ที่เฟซบุ๊ก
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°54′36″N 100°32′13″E / 13.909876°N 100.537037°E
- "มสธ.ทวิภาคกระบี่-พังงา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2013. เว็บไซต์อย่างไม่เป็นทางการ จัดทำโดย ชมรมนักศึกษา จังหวัดพังงาและกระบี่
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันอุดมศึกษาระบบเปิด
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนนทบุรี
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดลำปาง
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช
- สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดยะลา
- สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2521
- เมืองทองธานี
- สถานศึกษาในอำเภอปากเกร็ด