ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์จีน–ไทย"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
||
บรรทัด 28: | บรรทัด 28: | ||
ประเทศไทยมีนโยบายปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนตั้งแต่[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]] เมื่อความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศตะวันตกแย่ลง<ref>Prashanth Parameswaran. (2014). [https://thediplomat.com/2014/12/thailand-turns-to-china/ Thailand Turns to China]. ''The Diplomat''. Accessed 3-1-2018.</ref> ในสภาผู้แทนราษฎรไทยมีความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ และบางส่วนเรียกประเทศไทยว่าเป็นมณฑลของประเทศจีน โดยจีนได้ครอบครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ทำให้จีนสามารถสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงได้ รวมถึงบริษัทเอกชนจีนลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์รถไฟความเร็วสูงของไทย<ref>{{cite news |title=MPs warned of an economic colony as opposition zeroed in on Thailand's impaired relationship with China |url=https://www.thaiexaminer.com/thai-news-foreigners/2020/02/28/thailand-relationship-china-thai-government-opposition-critiscism/ |access-date=6 November 2020 |work=Thai Examiner |date=28 February 2020}}</ref> |
ประเทศไทยมีนโยบายปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนตั้งแต่[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]] เมื่อความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศตะวันตกแย่ลง<ref>Prashanth Parameswaran. (2014). [https://thediplomat.com/2014/12/thailand-turns-to-china/ Thailand Turns to China]. ''The Diplomat''. Accessed 3-1-2018.</ref> ในสภาผู้แทนราษฎรไทยมีความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ และบางส่วนเรียกประเทศไทยว่าเป็นมณฑลของประเทศจีน โดยจีนได้ครอบครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ทำให้จีนสามารถสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงได้ รวมถึงบริษัทเอกชนจีนลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์รถไฟความเร็วสูงของไทย<ref>{{cite news |title=MPs warned of an economic colony as opposition zeroed in on Thailand's impaired relationship with China |url=https://www.thaiexaminer.com/thai-news-foreigners/2020/02/28/thailand-relationship-china-thai-government-opposition-critiscism/ |access-date=6 November 2020 |work=Thai Examiner |date=28 February 2020}}</ref> |
||
ตลอดปี พ.ศ. 2567 [[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]]ทำการบินไปประเทศจีนมากถึง 44 <ref>[https://info.flightmapper.net/airport/BKK Flightmapper Airport BKK]</ref>[[รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศจีน|ท่าอากาศยานในประเทศจีน]] เมื่อรวม[[ท่าอากาศยานดอนเมือง]]ด้วยแล้ว สองท่าอากาศยานหลักในประเทศไทยทำการบินไปประเทศจีนมากถึง 51 ท่าอากาศยาน โดยท่าอากาศยานดอนเมืองทำการบินเมือง[[ซานย่า]] [[ยังจิ๋ว]] [[มณฑลหูเป่ย์|นครอี๋ชาง]] [[ต้าเหลียน]] [[เทียนจิน]] [[เขาหวง]]<ref>[https://www.flightaware.com/live/flight/TLM8107 SL8107]</ref>และ[[ฮาร์บิน]]<ref>[https://travel.trueid.net/detail/OXnn9Jb4Y9JX Thai AirAsia X เปิดบินตรง ดอนเมือง- ฮาร์บิน เมืองน้ำแข็ง]</ref>ประเทศจีนเพิ่มอีกสองเมือง หากรวมเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกงและมาเก๊า การท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2567 มีเที่ยวบินไปกลับมากถึง 48 ท่าอากาศยาน |
|||
== ความสัมพันธ์ทวิภาคี == |
== ความสัมพันธ์ทวิภาคี == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:04, 17 พฤศจิกายน 2567
จีน |
ไทย |
ความสัมพันธ์จีน–ไทย ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2518 หลังจากเจรจากันมาหลายปี[1][2] ซึ่งเป็นเวลานานแล้ว ที่ประเทศไทยหรือในชื่อเดิมคือสยามได้เป็นประเทศที่แน่นแฟ้นต่อจีนอย่างมาก และโดยปกติแล้ว ชาวจีนก็แสดงความนับถือสยามอย่างสูงโดยรับรองสัมพันธไมตรีต่อกัน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พยายามลบล้างและขัดขวางชาวจีน ความรู้สึกชื่นชอบของคนไทยที่��ีต่อจีนได้รับความสูญเสียอย่างหนัก
ขณะนี้ อาจมีการแย่งชิงอำนาจระหว่างสหรัฐและจีน เนื่องจากการปรากฏตัวของทั้งสองประเทศในไทยทวีความรุนแรงขึ้น[3] จีนยังคงเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลและความโดดเด่นในภูมิภาค[4][5][6][7][8]
ประวัติ
สมัยกลางและสมัยใหม่ตอนต้น
ความสัมพันธ์จีน–ไทยย้อนหลังไปถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อการเดินทางสมบัติหมิงของเจิ้งเหอได้มาจอดที่อยุธยา ประเทศไทย แม้ว่าจีนจะสนับสนุนรัฐมะละกาซึ่งเป็นคู่แข่งของไทย แต่ก็ยังถือว่าไทยเป็นหนึ่งในระบบบรรณาการของจีนที่ซื่อสัตย์มากกว่า เมื่อญี่ปุ่นบุกครองเกาหลี ไทยได้เสนอให้จีนบุกญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศต่อเนื่องมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง โดยในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1760 การรุกรานพม่าของราชวงศ์ชิงได้ช่วยบรรเทาแรงกดดันจากพม่าที่มีต่อประเทศไทย ส่วนการนำเข้าข้าวไทยได้ช่วยหล่อเลี้ยงประชากรจีนสมัยชิง ในขณะที่ชาวไทยเชื้อสายจีนมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองของไทยสมัยใหม่ตอนต้น
สมัยใหม่
ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองประเทศรุนแรงขึ้นจากสงครามเย็น แต่จอมพลแปลกได้ส่งลูก ๆ ของสังข์ พัธโนทัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของเขาไปอาศัยอยู่ในประเทศจีนด้วยท่าทีปรารถนาดี แต่ยังเป็นการลับหลังอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งหนังสือมุกมังกรที่เขียนโดยสิรินทร์ ลูกสาวของสังข์ พัธโนทัย ได้เล่าถึงประสบการณ์ของเธอที่เติบโตขึ้นในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในประเทศจีน
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้เสด็จเยือนไทเป สาธารณรัฐจีน (ROC) ส่วนใน พ.ศ. 2512 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เจียง จิ่งกั๊วะ ได้เยือนกรุงเทพมหานครในฐานะทูตพิเศษของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ไทย ทั้งนี้ ราชอาณาจักรไทยได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการทูตจากสาธารณรัฐจีนเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2518[9]
ก่อน พ.ศ. 2518 ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับราชอาณาจักรไทยเป็นหนึ่งในความหวาดระแวงซึ่งกัน เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนสนับสนุนกลุ่มที่เอียงซ้ายในแวดวงการเมืองไทย และราชอาณาจักรไทยได้ระมัดระวังการมีส่วนร่วมของจีนกับความขัดแย้งของประเทศกัมพูชา[1]
ความสัมพันธ์สาธารณรัฐประชาชนจีน–ราชอาณาจักรไทย พัฒนาไปในทางบวกใน พ.ศ. 2521 เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงให้การสนับสนุนไทยในช่วงที่กัมพูชามีความขัดแย้งภายใน โดยกองกำลังมาร์กซิสต์จากประเทศเวียดนามได้ขับไล่เขมรแดงผู้นับถือลัทธิเหมาออกจากอำนาจ และคุกคามความมั่นคงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[10]
นับตั้งแต่ไทยเชื้อสายจีนเข้าครอบงำเศรษฐกิจไทยตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายไผ่[11] ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี กรุ๊ป) กลุ่มบริษัทไทยที่มีชื่อเสียงซึ่งก่อตั้งโดยตระกูลเจียรวนนท์เชื้อสายไทย–จีน เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดรายเดียวในประเทศจีน[12]
ส่วนใน พ.ศ. 2537 ผู้นำไต้หวัน หลี่ เติงฮุย ได้มาเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนตัว และเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระมหากษัตริย์ไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ[9]
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์รัฐมิตราภรณ์ และรางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีน จากงานส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างสองประเทศ พระองค์ตรัสภาษาจีนกลางได้อย่างคล่องแคล่ว และได้แปลนวนิยายจีนหลายเล่มเป็นภาษาไทย[13]
ประเทศไทยมีนโยบายปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีนตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศตะวันตกแย่ลง[14] ในสภาผู้แทนราษฎรไทยมีความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ และบางส่วนเรียกประเทศไทยว่าเป็นมณฑลของประเทศจีน โดยจีนได้ครอบครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ทำให้จีนสามารถสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงได้ รวมถึงบริษัทเอกชนจีนลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์รถไฟความเร็วสูงของไทย[15]
ตลอดปี พ.ศ. 2567 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทำการบินไปประเทศจีนมากถึง 44 [16]ท่าอากาศยานในประเทศจีน เมื่อรวมท่าอากาศยานดอนเมืองด้วยแล้ว สองท่าอากาศยานหลักในประเทศไทยทำการบินไปประเทศจีนมากถึง 51 ท่าอากาศยาน โดยท่าอากาศยานดอนเมืองทำการบินเมืองซานย่า ยังจิ๋ว นครอี๋ชาง ต้าเหลียน เทียนจิน เขาหวง[17]และฮาร์บิน[18]ประเทศจีนเพิ่มอีกสองเมือง หากรวมเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกงและมาเก๊า การท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2567 มีเที่ยวบินไปกลับมากถึง 48 ท่าอากาศยาน
ความสัมพันธ์ทวิภาคี
ความสัมพันธ์ทางการค้าทวิภาคีเติบโตขึ้นทุกปี[19] การค้าทวิภาคีจีน-ไทยใน พ.ศ. 2542 มีมูลค่า 4.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[19] ซึ่งมีมูลค่าถึง 25.3 พันล้านดอลลาร์ใน พ.ศ. 2549, 31.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2550 และ 36.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551[20] การเปลี่ยนแปลงของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ไปสู่อำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้นำไปสู่การเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศในเครือข่ายไผ่ ซึ่งเครือข่ายธุรกิจจีนโพ้นทะเลที่ดำเนินงานในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสัมพันธ์ในครอบครัวและวัฒนธรรมร่วมกัน[21][11]
การส่งออกของจีนไปยังประเทศไทย ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์, มอเตอร์ไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องจักร, ผลิตภัณฑ์โลหะ, เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้า[20]
ส่วนการส่งออกของไทยไปยังประเทศจีน ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์, ยาง, น้ำมันสำเร็จรูป, เม็ดพลาสติก, เคมีอิเล็กทรอนิกส์, น้ำมันดิบ, ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหาร[20]
จีนเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของไทย นอกจากนี��� จีนยังเป็นผู้นำเข้าสินค้าเข้าประเทศรายใหญ่ที่สุดของไทยใน พ.ศ. 2553[22]
ความสัมพันธ์ทางการทหาร
นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งซื้อรถถังหลักวีที-4 ของจีน 49 คัน และเรือดำน้ำ 3 ลำ ซึ่งมีราคากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[23][24]
จีนและไทยกำลังวางแผนที่จะเปิดโรงงานผลิตอาวุธร่วมในเทศบาลนครขอนแก่น[23] ซึ่งจะรับผิดชอบการประกอบ, การผลิต และการบำรุงรักษาระบบอาวุธภาคพื้นดินสำหรับกองทัพบกไทย รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงอาจมีการหารือเพิ่มเติมระหว่างกระทรวงและนอริงโก ซึ่งสร้างรถถังและอาวุธในเครื่องจักรกลหนักอื่น ๆ
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 กองทัพเรือไทยได้ลงนามในสัญญากับบริษัทอุตสาหกรรมการต่อเรือแห่งประเทศจีนสำหรับเรือดำน้ำพลังดีเซล-ไฟฟ้า เอส26ที ซึ่งมีกำเนิดมาจากเรือดำน้ำแบบ 039A[24] โดยคาดว่าจะส่งมอบเรือดำน้ำใน พ.ศ. 2566[24] โจว เฉินหมิง ซึ่งเป็นผู้บรรยายข่าวกองทัพจีน กล่าวว่าจีนน่าจะให้คำแนะนำทางเทคนิคแก่ประเทศไทยเช่นกัน[24]
ดูเพิ่ม
อ่านเพิ่ม
- ASEAN SEC (October 2001). "Forging Closer ASEAN-China Economic Relations In The Twenty-First Century" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
- Cardenal, Juan Pablo; Araújo, Heriberto (2011). La silenciosa conquista china (ภาษาสเปน). Barcelona: Crítica. pp. 230–232. ISBN 9788498922578.
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Editorial (June 30, 2009). "Sino-Thai relations have come a long way". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2016. สืบค้นเมื่อ January 10, 2011.
- ↑ "A Hiatus in the Sino-Thai "Special Relationship"". China Brief Volume: 6 Issue: 19. May 9, 2007.
- ↑ "Thailand's foreign relations under the new government". สืบค้นเมื่อ 2014-07-29.
- ↑ "Is Chinese influence redefining South-east Asia?". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). 4 February 2016.
- ↑ "Chinese subs, tanks, ships sold in South, Southeast Asia".
- ↑ "China starts work on US$411 million submarine for Thai navy". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Ramsey, Adam. "Thailand Is Finally Cozying Up to China. Why Now?". OZY (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
- ↑ "The Curious Case of Thai-Chinese Relations: Best Friends Forever? - The Asia Foundation". The Asia Foundation. 30 March 2016.
- ↑ 9.0 9.1 "Taiwan mourns death of Thai king - Politics - FOCUS TAIWAN - CNA ENGLISH NEWS".
- ↑ "China-Thai relations can always use a new spark". The Nation. 2010-07-01.
- ↑ 11.0 11.1 Murray L Weidenbaum (1 January 1996). The Bamboo Network: How Expatriate Chinese Entrepreneurs are Creating a New Economic Superpower in Asia. Martin Kessler Books, Free Press. pp. 4–8. ISBN 978-0-684-82289-1.
- ↑ Gomez, Edmund (2012). Chinese business in Malaysia. Routledge. p. 94. ISBN 978-0415517379.
- ↑ http://www.asiaone.com/News/Latest%2BNews/Plush/Story/A1Story20130401-412771.html
- ↑ Prashanth Parameswaran. (2014). Thailand Turns to China. The Diplomat. Accessed 3-1-2018.
- ↑ "MPs warned of an economic colony as opposition zeroed in on Thailand's impaired relationship with China". Thai Examiner. 28 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 November 2020.
- ↑ Flightmapper Airport BKK
- ↑ SL8107
- ↑ Thai AirAsia X เปิดบินตรง ดอนเมือง- ฮาร์บิน เมืองน้ำแข็ง
- ↑ 19.0 19.1 "DEVELOPMENT GATEWAY_ Economic and Trade Relations between China and Thailand Kingdom". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Sompop Manarungsan. "Thailand-China Cooperation in Trade, Investment and Official Development Assistance" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.
- ↑ Quinlan, Joe (November 13, 2007). "Insight: China's capital targets Asia's bamboo network". Financial Times.
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-11-22. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 23.0 23.1 Campbell, Charlie; Solomon, Felix (June 21, 2018). "Thailand's Leader Promised to Restore Democracy. Instead He's Tightening His Grip". Time.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 Liu, Zhen (September 5, 2018). "Chinese shipbuilder starts work on US$411 million submarine for Thai navy". South China Morning Post.
แหล่งข้อมูลอื่น
หนังสือและบทความ
- สารสิน วีระผล. (2548). จิ้มก้องและกำไร: การค้าไทย-จีน 2195-2396. แปลโดย พรรณงาม เง่าธรรมสาร, รังษี ฮั่นโสภา และสมาพร แลคโซ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
- สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์. (2562, ก.ค.-ธ.ค.). การทูตวิชาการ และความ(ไม่)รู้ในความสัมพันธ์ไทย-จีน. วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์. 6(2): 199-253.
- สิทธิพล เครือรัฐติกาล. (2562, ก.ค.-ธ.ค.). ความสัมพันธ์ไทย-จีนในยามยาก: คึกฤทธิ์ รัฐประหาร 6 ตุลา และธานินทร์ (ค.ศ. 1975-1977 AD). วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์. 6(2): 167-197.
- Wasana Wongsurawat. (2021). Chineseness and the Cold War in Thailand: From “Red Scare” to Strategic Ally. In Chineseness and the Cold War: Contested Culture and Diaspora in Southeast Asia and Hong Kong. Edited by Jeremy E. Taylor and Lunjun Xu. pp. 61-73. Routledge: London and New York, NY.
เว็บไซต์
- Chinese Embassy in Bangkok (จีน ไทย)
- Thai Embassy in Beijing (ไทย)