ข้ามไปเนื้อหา

ลินเดน (ยาฆ่าแมลง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลินเดน (ยาฆ่าแมลง)
ข้อมูลทางคลินิก
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • C
ช่องทางการรับยาTopical
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • Banned internationally by 2009 Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การจับกับโปรตีน91%
การเปลี่ยนแปลงยาHepatic cytochrome P-450 oxygenase system
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ18 hours
ตัวบ่งชี้
  • (1r,2R,3S,4r,5R,6S) -1,2,3,4,5,6-hexachlorocyclohexane
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
ECHA InfoCard100.000.365
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC6H6Cl6
มวลต่อโมล290.83 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Cl[C@H]1[C@H](Cl) [C@H](Cl) [C@@H](Cl) [C@H](Cl) [C@@H]1Cl
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

บทความนี้เกี่ยวกับยาฆ่าแมลง สำหรับความหมายอื่นของลินเดน ดูที่ ลินเดน (แก้ความกำกวม)

ลินเดน ( Lindane หรือ gamma-hexachlorocyclohexane;γ-HCH บางครั้งเรียก benzene hexachloride[1] ) เป็นยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีนที่เป็นอนุพันธ์ของ hexachlorocyclohexane ซึ่งนำมาใช้ในทางการเกษตรและใช้ในทางการแพทย์[2]

ลินเดนเป็นสารที่เป็นพิษต่อระบบประสาทโดยรบกวนการทำงานของสารสื่อประสาท GABA โดยรบกวนการทำงานของตัวรับ GABAA ในมนุษย์ ลินเดนมีผลต่อระบบประสาท ตับ ไต และอาจจะเป็นสารก่อมะเร็งและสารรบกวนระบบต่อมไร้ท่อ[3][4] องค์การอนามัยโลกจัดให้ลินเดนเป็นสารที่เป็นอันตรายปานกลาง และมีการควบคุมการค้าสารนี้ในระดับนานาชาติ [5] ถูกห้ามใช้แล้วใน 50 ประเทศ และใน พ.ศ. 2552 ได้ถูกจัดให้เป็นสารที่ควรถูกห้ามผลิตและห้ามใช้ทั่วโลก [6]

ในทางการแพทย์ Lindane ถูกนำมาใช้รักษาหิด เหา และโลน ในสหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่ปี คศ. 1951 จนถึงปัจจุบัน และ Lindane ยังปรากฏอยู่ในเภสัชตำรับของสหรัฐอเมริกา ปี 2011 : The United State Pharmacopeia 2011 (http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Pharmacopeia) ซึ่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ให้การรับรองคุณภาพและความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีรายงานของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ และนักสิ่งแวดล้อมหลายท่านจากสหรัฐอเมริกา แสดงความคิดเห็นว่าการใช้ Lindane สำหรับรักษาหิดเหาและโลน มีประสิทธิภาพดี และควรใช้ Lindane เป็นแนวทางในการรักษาหิดเหาและโลนต่อไป (http://www.lindane.com) เช่น ในปี 2007 นพ. Gerad L Conway ผู้อำนวยการสมาคมแพทย์แห่งรัฐนิวยอร์ก, พญ. Amy S Paller จากภาควิชาตจวิทยามหาวิทยาลัย Northwestern และ นพ. Adelaide A Hebert ประธานสมาคมแพทย์ผิวหนังเด็ก มหาวิทยาลัย Texas ได้แสดงความเห็นด้วยในการใช้ Lindane Cream สำหรับรักษาหิดและเหาโดยเห็นว่า เช่นเดียวกับการใช้ยาทั่วไป การใช้ Lindane อย่างถูกวิธีจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสีย (http://www.lindane.com) นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัย Michigan คือ ดร. Len I Sweet ได้แสดงผลงานวิจัยสรุปว่า Lindane ที่ใช้รักษาหิดและเหามีปริมาณน้อย ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นในดิน น้ำ (น้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำเสีย) ทะเลสาบและ ปลาในรัฐ Michigan (http://www.lindane.com) สำหรับประเทศไทย 1% Lindane cream ได้มีการผลิตและจำหน่ายแพร่หลายในประเทศมากว่า 60 ปี ไม่พบรายงานเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาเลย ตามข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของคณะกรรมการอาหารและยา และ 1% Lindane cream สามารถกำจัดเหาและไข่เหาได้ในการใช้เพียงครั้งเดียว โดยไม่ต้องรอให้ไข่เหาฟักเป็นตัวเสียก่อน ดังนั้นในแง่ของประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความสะดวกในการรักษาด้วย 1% Lindane cream สามารถใช้ได้ดี ดังปรากฏในรายงานของ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารศรีนครินทร์เวชสาร ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เม.ย. – มิ.ย. 2535 หน้า 92 – 96 โดยย่อดังนี้ ผลการรักษาเด็กนักเรียนที่เป็นเหาด้วยยา 1% Lindane cream ด้วยการชโลมยาให้ทั่ว คลุมผมด้วยถุงพลาสติก 12 ชั่วโมง ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า 1% Lindane cream มีประสิทธิภาพในการกำจัดเหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การชโลมยานี้บนเส้นผมแล้วทิ้งไว้นาน 12 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ผลการรักษาสูงถึง 97.4% และยังมีฤทธิ์ในการทำลายระยะตัวอ่อนของเหาที่อยู่ในไข่ได้ 100% ( http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_preview=T&art_id=771) นอกจากนี้ในปี 2546 ประเทศไทยยังมีรายงานวิจัยศึกษาการใช้ Lindane รักษาหิดในเด็กโดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตีพิมพ์ในวารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ( J Med Assoc Thai. 2003 Aug;86 Suppl 3:S531-6) พบว่า 0.3% Lindane ครีม ใช้รักษาหิดได้ดีพอๆกับ 10% ขี้ผึ้งกำมะถัน แต่ขี้ผึ้งกำมะถันมีกลิ่นเหม็นมากกว่า

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

รัฐบาลและองค์กรต่างๆ

[แก้]

ข่าวและบทความ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Brandenberger, Hans; Maes, Robert A. A. (1997). Analytical toxicology: for clinical, forensic, and pharmaceutical chemists. Berlin: Walter de Gruyter. p. 243. ISBN 9783110107319. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  2. Drugs.com Professional Drug Information: Lindane เก็บถาวร 2010-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2009-05-10
  3. Agency for Toxic Substances and Disease Registry, U.S. Department of Health and Human Services. Toxicologic profile for alpha-, beta, gamma- and delta-hexachlorocyclohenxane. August 2005. http://www.atsdr.cdc.gov/toxprofiles/tp43.pdf
  4. Lindane Voluntary Cancellation and RED Addendum Fact Sheet, US EPA, July 2006.
  5. World Health Organization, The WHO Recommended Classification of Pesticides by Hazard, 2005.
  6. Eliane Engeler, "UN: Treaty expanded by 9 more dangerous chemicals"[ลิงก์เสีย], Associated Press 2009-05-09