ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นชบา
พายุไต้ฝุ่นชบาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
24 สิงหาคม พ.ศ. 2547
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว18 สิงหาคม พ.ศ. 2547
นอกเขตร้อน31 สิงหาคม พ.ศ. 2547
สลายตัว5 กันยายน พ.ศ. 2547
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต20 ราย
ความเสียหาย$2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2547 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา,
กวม, ญี่ปุ่น
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นชบา (อักษรโรมัน: Chaba)[nb 1] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2547 และก่อให้เกิดความเสียหายตั้งแต่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น ระยะเวลาตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของปีนั้น พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับสองของประเทศญี่ปุ่น และได้เป็นพายุที่มีกำลังแรงสูงสุดเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของควาจาเลน หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ต่อมาพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้กลายเป็นพายุโซนร้อน และทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 20 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 2] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในวันที่ 23 สิงหาคม หลังจากนั้นพายุก็เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ความรุนแรงของพายุลูกนี้ยังคงอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่พายุไต้ฝุ่นชบาจะเริ่มอ่อนกำลังลงในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม สามวันต่อมา พายุไต้ฝุ่นชบาได้ขึ้นฝั่งเกาะคีวชู[1] และเคลื่อนตัวข้ามทะเลญี่ปุ่นเมื่อพายุอ่อนกำลังลงพร้อม ๆ กันในวันที่ 31 สิงหาคม พายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และต่อมาก็สลายไปในทะเลโอค็อตสค์เมื่อวันที่ 5 กันยายน[2] นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นเตี้ยนหมู่ และพายุไซโคลนกาฟิโลในปี พ.ศ. 2547 อีกด้วย

พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อพื้นที่ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ซึ่งถูกลมกระหน่ำพัดแรง เกาะโรตาได้รับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากพายุไต้ฝุ่นชบาในขณะที่เกาะยังคงอยู่ในตาพายุเป็นเวลาหลายชั่วโมง พายุมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (140 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในบริเวณสนามบินนานาชาติโรตา และลมแรงได้พัดถล่มบ้านเรือนจำนวนมาก กระแสไฟฟ้าได้ขัดข้องทั่วพื้นที่ และชายหาดได้รับผลกระทบอันเป็นผลมาจากพายุ พายุได้สร้างความเสียหายในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาประมาณ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 13 ราย อีกที่ที่เกิดเหตุขึ้นในกวมที่สถานการณ์คล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะมีความเสียหายน้อยกว่าหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หลังจากพายุเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งกวม และพื้นที่ทางตอนเหนือของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาได้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติจากรัฐบาลกลาง

ความเสียหายส่วนใหญ่ที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นชบาในประเทศญี่ปุ่นโดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 18 ราย และมีมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 105.4 พันล้านเยน (959 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับที่ 14 จากบันทึกที่ผ่านมา บ้านเรือนประมาณ 8,627 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากผลกระทบของพายุ และบ้านเรือนอีกประมาณ 46,561 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม ผลกระทบในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ที่เกาะคีวชู พายุไต้ฝุ่นชบาได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเป็นครั้งแรก จึงทำให้มีปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 821 มิลลิเมตร (32.32 นิ้ว) ในจังหวัดมิยาซากิ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และเกิดความล่าช้าในการขนส่งจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่น ความเสียหายโดยรวมประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 3]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นชบา

  • วันที่ 18 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ขณะที่พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก พายุจัดกลายเป็นพอที่จะได้รับการจัดเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 4] เมื่อเวลา 13:00 น. (06:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันนั้น และพายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกภายใต้อิทธิพลที่อยู่ใกล้ ๆ เสริมกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 19 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 5] ได้กำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 19W พายุอยู่ห่างไกลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือในขณะนั้น พายุตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน และเคลื่อนตัวจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (10 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในแง่ของความรุนแรงของพายุได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว และพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในเวลา 19:00 น. (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้กำหนดให้ชื่อว่า ชบา
  • วันที่ 20 สิงหาคม ขณะที่พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก พายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนถึงระดับของพายุโซนร้อน อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์รูปแบบลมเกี่ยวกับพายุตลอดวันบ่งชี้ว่าการไหลเวียนในระดับบนของพายุโซนร้อนชบา และแยกออกจากการไหลเวียนของพื้นผิว สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในขณะที่พายุอยู่ห่างจากเกาะไซปันไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 345 กิโลเมตร (215 ไมล์) รูปแบบการทำให้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่มาจากการพัฒนาช่องทางไหลออกคู่ระหว่างวันในขณะเดียวกันพายุไต้ฝุ่นชบาเริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือรอบขอบค่อนข้างแคบใกล้เคียง และได้เคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 21 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาได้พัฒนาตาพายุระดับต่ำที่เด่นชัด มีขนาดใหญ่ และยังคงเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสู่กวม
  • วันที่ 22 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้สภาพอากาศที่มีความแปรปรวน พายุได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ที่มีความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 927 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.37 นิ้วของปรอท) คืนนั้นพายุไต้ฝุ่นชบาได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ภายใต้การจัดหมวดหมู่ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (155 ไมล์ต่อชั่วโมง) และพัฒนาเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ประมาณ 250 กิโลเมตร (155 ไมล์) และพื้นที่เมฆหนาทึบกลางขนาดใหญ่ พายุได้พัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์) จากนั้นพายุก็รุนแรงขึ้นเมื่อเคลื่อนตัวไปยังบริเวณที่มีลมเฉือนแนวตั้งปานกลาง และลมศูนย์กลางยังคงอยู่ที่ 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในอีกสองสามวันข้างหน้า พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
    พายุไต้ฝุ่นชบากำลังเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2547
  • วันที่ 23 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาได้กลับมามีกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง และได้ถึงจุดความหนาแน่นสูงสุด สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประเมินว่าพายุมีความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท) พายุไต้ฝุ่นชบามีขนาดปานกลางที่มีกำลังแรง แต่พายุยังคงระดับความรุนแรงนี้ไว้เป็นเวลา 2 วัน ก่อนที่อากาศจะแห้ง และเริ่มส่งผลกระทบต่อพายุ
  • วันที่ 25 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกของสันเขาความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลมที่พายุยังคงเป็นความรุนแรงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 26 สิงหาคม ความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นชบายังคงอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่พายุจะเริ่มผันผวนในขณะที่เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ของประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 27 สิงหาคม ร่องคลื่นยาวที่เป็นส่วนหนึ่งที่พาพายุไต้ฝุ่นชบาไปทางทิศเหนือ และได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ หลังจากนั้นพายุก็เริ่มเคลื่อนตัวช้าลงไปทางทิศตะวันตก และเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาส่งผลให้พายุอ่อนกำลังลงอีก ร่องคลื่นยาวพาพายุไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และเคลื่อนตัวไปยังแผ่นดินใกล้คาโงชิมะเมื่อเวลา 07:00 น. (00:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 28 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเริ่มอ่อนกำลังลงอย่างช้า ๆ โดยมีลมเฉือนแนวตั้งปานกลางในแง่ของเส้นทาง พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ ตาพายุด้านนอกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) และตาพายุด้านในมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์)
  • วันที่ 29 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือภายใต้การไหลของอากาศทางทิศใต้ของสันเขากึ่งเขตร้อน
  • วันที่ 30 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่จังหวัดคาโงชิมะเมื่อเวลา 16:30 น. (09:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) ข้ามเกาะคีวชู และในเวลาสั้น ๆ ก็โผล่ออกมาเหนือน้ำก่อนที่จะเคลื่อนตัวเข้าสู่จังหวัดยามางูจิเมื่อเวลา 19:00 น. (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และอีก 6 ชั่วโมง ต่อมาพายุโซนร้อนชบาได้เคลื่อนตัวเข้าไปในทะเลญี่ปุ่นขึ้นแผ่นดินเป็นครั้งสุดท้ายในทางตะวันออกเฉียงเหนือ และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนใกล้กับจังหวัดฮกไกโด
  • วันที่ 31 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนชบาได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน หลังจากนั้นก็สลายไปในทะเลโอค็อตสค์ และเคลื่อนตัวไปยังชายฝั่งของประเทศรัสเซีย
  • วันที่ 4 กันยายน พายุหมุนนอกเขตร้อนได้กลายเป็นพายุหมุนกึ่งเขตร้อนใกล้เกาะซาฮาลินก่อนจะสลายตัวไปในเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ในวันรุ่งขึ้น

การเตรียมการ

[แก้]

กวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา

[แก้]

ศูนย์พักพิงฉุกเฉินในกวม และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาได้เปิดขึ้นเพื่อรอพายุไต้ฝุ่นชบาเพื่อตอบสนองต่อคำเตือนเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งได้ประกาศไว้ทั่วพื้นที่ ภูมิภาคเดียวกันก็ยังคงฟื้นตัวจากพายุไต้ฝุ่นเถ่งเถงในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักในเดือนมิถุนายน และในวันเดียวกันกับที่พักพิงได้เปิดขึ้น ผู้คนประมาณ 442 คน ได้ถูกย้ายไปอยู่ที่ 7 ที่พักอาศัยในกวม และตัวเลขนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นประมาณเกือบ 2,000 หลัง โรงเรียน 10 แห่ง ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นที่พักพิงฉุกเฉิน และท่าอากาศยานนานาชาติอันโตนิโอ บี.วอน แพต ใกล้กวมได้ถูกปิดเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการเตรียมการของยูเอสเอสคิตตี้ ฮอว์ก (CV-63) ซึ่งได้รับการประจำการอยู่กวมตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม ให้ออกเดินทางในช่วงเวลาเช้าของวันที่ 21 สิงหาคม เพื่อหลีกเลี่ยงพายุไต้ฝุ่นชบา

ประเทศญี่ปุ่น

[แก้]

พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกในวันที่ 28 สิงหาคม จึงทำให้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) คาดการณ์ว่าพายุจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นในวันรุ่งขึ้น และคาดว่าจะมีฝนตกหนักในหลายจังหวัด เส้นทางเรือข้ามฟากประมาณ 16 เส้น ได้ถูกยกเลิกทั่วทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น และ เที่ยวบินประมาณ 244 เที่ยวบิน ทั้งขาไปขากลับจากสนามบินทางตอนใต้ของเกาะคีวชูได้ถูกยกเลิกเพื่อตอบสนองต่อพายุที่กำลังจะเคลื่อนตัวมาถึงในวันที่ 29 สิงหาคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารประมาณ 15,000 คน และในวันรุ่งขึ้นเที่ยวบินภายในประเทศอีกประมาณ 739 เที่ยวบิน ได้ถูกยกเลิกส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารอีกประมาณ 60,000 คน และรถไฟด่วนหลายสายได้ถูกยกเลิกเช่นกัน มีผู้อพยพประมาณ 12,000 คน บนเกาะคีวชู และเกาะชิโกกุ และในโอโนมิจิได้มีการอพยพประชาชนประมาณ 3,500 คน เหตุคลื่นลมแรงสูงจากพายุ

ผลกระทบ

[แก้]

กวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นชบากำลังเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นชบาได้ทำให้เกิดคลื่นลมแรงขนาดใหญ่ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตในเกาะไซปัน และทำให้คนอื่นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเคลื่อนตัวเข้าใกล้ของพายุ ซึ่งพายุเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในช่วงสองวันต่อมา[5] กวมมีรายงานน้ำท่วมชายฝั่งสูงถึงประมาณ 2 เมตร แต่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ และมีเพียงน้ำท่วมเล็กน้อยเท่านั้นที่เกิดจากฝนตกหนัก ไม่มีรายงานความเสียหายจากลมแรง แต่ในเกาะโรตามีความเสียหายอย่างหนัก เช่น บ้านเรือนประมาณกว่า 50 หลัง ได้รับความเสียหาย และบ้านเรือนอีกประมาณกว่า 175 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก เสาไฟฟ้าโค่นล้มลง และสายไฟจำนวนมากได้ขาดเสียหาย ส่งผลให้ไฟฟ้าดับทั่วทั้งเกาะ พืชผล ต้นไม้ และพื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายอย่างหนักเช่นกัน น้ำท่วมชายฝั่งประมาณ 2 ถึง 3 เมตร ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายหาดอย่างหนัก ไม่มีผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในเกาะไซปันได้รายงานว่าน้ำท่วมชายฝั่งอยู่ที่ประมาณ 2 เมตร ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายหาดในระดับปานกลาง บ้านเรือนประมาณ 270 หลัง ได้รับความเสียหายบนเกาะ และบ้านเรือนอีกประมาณ 700 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักทั้งสองเกาะ ต้นไม้หลายต้นโค่นล้มลงบนเกาะไซปัน สายไฟหลายสายได้ขาดเสียหาย ส่งผลให้ไฟฟ้าดับทั่วทั้งเกาะที่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และการบริการทางโทรศัพท์ก็ถูกระงับเช่นกัน พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และค่าใช้จ่ายความเสียหายมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หลังจากที่พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวผ่านกวม จึงทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอยู่ที่ 4 ราย ที่ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่งโดยกระแสน้ำที่รุนแรง ซึ่งเกิดจากพายุที่กำลังเคลื่อนตัว ผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ได้รับการช่วยเหลือ และนำส่งโรงพยาบาลรักษาอาการบาดเจ็บ แต่ไม่พบเจออีก 1 ราย

พายุไต้ฝุ่นชบาตั้งอยู่ประมาณ 445 กิโลเมตร (275 ไมล์) ทางใต้ของอิโวะจิมะเมื่อเวลา 08:30 น. (01:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และมีความเร็วลมสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547

กวมได้รับผลกระทบจากพายุน้อยกว่าหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา แต่ยังคงถูกลมกระโชกแรงพัดถล่ม ท่าอากาศยานนานาชาติอันโตนิโอ บี.วอน แพต ซึ่งยังคงปิดบริการตลอดช่วงที่เกิดพายุ ลมกระโชกแรงสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) และสนามบินเดียวกันได้มีการบันทึกปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 329 มิลลิเมตร (12.95 นิ้ว) ในช่วงระยะเวลา 3 วัน อันเป็นผลมาจากพายุไต้ฝุ่นชบา อย่างไรก็ตาม ลมกระโชกแรงสูงสุดที่วัดได้โดยรวมในกวมอยู่ที่ท่าเรือ ซึ่งสถานีได้บันทึกลมกระโชกแรงอยู่ที่ประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (80 ไมล์ต่อชั่วโมง) ผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ในระดับเล็กน้อยในกวม แม้ว่าจะมีน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งในระดับปานกลาง แต่การกัดเซาะของชายหาดมีเล็กน้อย และฝนที่ตกหนักไม่ได้ทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างมีนัยสำคัญ ความเสียหายในกวมสูงถึงประมาณ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 4 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากพายุเคลื่อนตัวพัดผ่านใกล้เกาะ[6] อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวผ่านกวม จึงทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอยู่ที่ 4 ราย ที่ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่งโดยกระแสน้ำที่รุนแรง แม้ว่าจะพบเจอ 3 ราย ที่กำลังรักษาอาการบาดเจ็บ แต่ไม่พบเจออีก 1 ราย เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม[7]

หลังจากพายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวผ่านไป ผู้ว่าการเฟลิกซ์ เปเรซ กามาโช ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินสำหรับกวม โดยจัดสรรเงินจำนวนประมาณ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นกองทุนเพื่อการป้องกันภัยพลเรือนในภาวะฉุกเฉิน ความปลอดภัยสาธารณะ และค่ารักษาพยาบาล สำนักงานบริหารหลายแห่งรวมถึงสำนักงานกวม กระทรวงกลาโหม และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ได้รับมอบหมายให้ประเมินความเสียหาย และช่วยเหลือในการดำเนินการซ่อมแซมบ้านเรือน ผู้ว่าการฮวน บาเบาตา ในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาขอให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในสหรัฐประกาศให้เครือจักรภพเป็นพื้นที่ภัยพิบัติเพื่อรับความช่วยเหลือจากภัยพิบัติของรัฐบาลกลางขอทุนนี้ได้รับในหกวันต่อมา

ประเทศญี่ปุ่น

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นชบากำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุที่สร้างความเสียหายสูงสำหรับทั่วประเทศญี่ปุ่น[8] จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 18 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 45 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสประมาณ 240 ราย[9] นอกจากนี้ ยังได้รับความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 244 พันล้านเยน (2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) อีกด้วย ผลการชำระค่าประกันมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 146.5 พันล้านเยน (1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[10] บ้านเรือนประมาณ 8,627 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากผลกระทบของพายุ และบ้านเรือนอีกประมาณ 46,561 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม มูลค่าความเสียหายที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุที่ส่งผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดในปี พ.ศ. 2547 และพายุไต้ฝุ่นชบายังคงเป็นพายุที่สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับที่ 14 ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น[11]

เกาะคีวชู

[แก้]

ลมแรงที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นชบาได้ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมในคิตะไดโทจิมะได้รับความเสียหาย เช่น ต้นข้าว และพืชไร่อ้อย เป็นต้น และส่งผลให้เกิดมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 39.2 เยน (360,000 ดอลลาร์สหรัฐ)[12] สามวันต่อมา พายุไต้ฝุ่นชบาได้เคลื่อนตัวผ่านไปใกล้หมู่เกาะอามามิ และกิ่งจังหวัดโอชิมะ จึงทำให้เกิดฝนตกหนัก และลมกระโชกแรง อันเป็นผลมาจากผลกระทบเหล่านี้ บ้านเรือนประมาณ 5,800 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และตัวเลขนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นประมาณเกือบ 20,000 หลัง บ้านเรือนอีกประมาณ 100 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม ปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 300 มิลลิเมตร (11.8 นิ้ว) บนเกาะคีวชู[13] ลมแรงได้พัดหลังคาบ้าน และหน้าต่างบานในอาคารอื่น ๆ อีกหลายแห่ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย เนื่องจากกระจกปลิวใส่ และในทำนองเดียวกันอีก 1 ราย ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากกระจกแตกใส่ในยากูชิมะ

น้ำท่วมสถานีโอกิมัตสึชิมะในทากามัตสึ จังหวัดคางาวะ ประเทศญี่ปุ่น

พายุไต้ฝุ่นชบาถล่มพื้นที่ในจังหวัดคาโงชิมะ จึงทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อการเกษตร และโครงสร้างของอาคารหลายแห่งได้รับความเสียหาย บ้านเรือนประมาณ 1,033 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม และบ้านเรือนในคาโงชิมะอีกประมาณ 32,300 หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ ผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นชบาส่งผลให้บ้านเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ประมาณ 328,000 หลัง ในวันรุ่งขึ้น[14] ความเสียหายในจังหวัดมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 5.17 พันล้านเยน (47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 ราย ผลรวมของปริมาณน้ำฝนวัดทั่วประเทศญี่ปุ่นเป็นผลมาจากพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับจังหวัดมิยาซากิ ปริมาณน้ำฝนในเอบิโนะสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 821 มิลลิเมตร (32.32 นิ้ว) สถานีในมิคาโดะสังเกตปริมาณน้ำฝนประมาณ 61 มิลลิเมตร (2.40 นิ้ว) ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าการวัดอื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลาเดียวกันในจังหวัดนั้น บ้านเรือนประมาณ 1,000 หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 27 ราย ตัวเลขความเสียหายในมิยาซากิสูงถึงประมาณ 38.8 พันล้านเยน (353 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[15]

เส้นแสดงระดับน้ำขึ้นน้ำลงบ่งบอกถึงระดับความเสียหายในทากามัตสึ จังหวัดคางาวะ ประเทศญี่ปุ่น

กองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่นถูกส่งทั้งในจังหวัดมิยาซากิ และคาโงชิมะ เพื่อช่วยเหลือผลกระทบต่อผู้คน และค้นหาผู้ที่สูญหายไป บ้านเรือนประมาณ 100 หลัง ในจังหวัดคูมาโมโตะไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้นไม้โค่นล้มกีดขวางเส้นทางคมนาคม และเกิดดินถล่มหลายแห่ง เนื่องจากฝนตกหนัก และมีความเสียหายสูงถึงประมาณ 1.9 พันล้านเยน (17.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แม้ว่าจะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 7 ราย คลื่นลมแรงในจังหวัดฟูกูโอกะทำให้เกิดความเสียหายตามแนวชายฝั่ง และส่งผลให้เกิดน้ำท่วมภายในประเทศบางส่วน[16] แม้ว่าจะตั้งอยู่ติดกับชายฝั่งจังหวัดนางาซากิ แต่ก็เกิดประสบปัญหาน้ำท่วมในระดับปานกลางโดยมีอาคารไม่กี่แห่งที่ถูกน้ำท่วม ความเสียหายทางการเกษตรมีมากขึ้นโดยพื้นที่การเกษตรประมาณ 5,645 เฮกตาร์ จมอยู่ใต้น้ำ[17] ผลกระทบนี้คล้ายกันที่เกิดขึ้นในจังหวัดซางะ ซึ่งความเสียหายมีมูลค่าประมาณ 2.2 พันล้านเยน (20.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[18] จังหวัดโออิตะได้ประสบความสูญเสียอย่างหนัก เนื่องจากถูกทั้งฝนตกหนัก และลมกระโชกแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งจังหวัด อาคารหลายแห่งได้รับความเสียหายด้านหน้าอาคาร และมีรายงานผลกระทบต่อผลผลิต เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ เป็นต้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นในจังหวัดโออิตะมีมูลค่าโดยรวมประมาณ 3.4 พันล้านเยน (31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[19]

พื้นที่อื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่น

[แก้]

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อยู่นอกจังหวัดโคจิ และอีก 1 ราย อยู่นอกจังหวัดเอฮิเมะ เนื่องจากถูกคลื่นซัดหายไป ซึ่งคาดว่าคลื่นน่าจะสูงถึงประมาณ 3 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลในระดับปานกลาง การเสียชีวิตเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะที่พายุยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในทะเลเปิด สี่วันต่อมา เรือสินค้าประเทศเวียดนาม (Vihan 05) ได้เกยตื้นใกล้กับแหลมยูระในจังหวัดเอฮิเมะ และในตอนแรกจะมุ่งหน้าไปยังคูเระ ฮิโรชิมะ ลูกเรือประมาณ 4 ราย จากทั้งหมดประมาณ 20 ราย ของเรือลำนี้ได้ถูกคลื่นซัด และสูญหายไปก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุทางภาคพื้นดิน บ้านเรือนประมาณเกือบ 400 หลัง ได้ถูกน้ำท่วมด้วยฝนตกหนัก ผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนอง และคลื่นลมแรง จึงทำให้การขนส่งเกิดความล่าช้า และได้มีการยกเลิกการขนส่งจำนวนมาก หน่วยไฟฟ้าทั้งหมดประมาณ 116,453 หน่วย ได้ขัดข้องในระหว่างการเคลื่อนตัวผ่านของพายุไต้ฝุ่นชบา ความเสียหายโดยรวมประมาณ 39.6 พันล้านเยน (360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มากกว่าจังหวัดอื่นในประเทศญี่ปุ่น[20] บ้านเรือนประมาณ 98,014 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับในระหว่างพายุกำลังเคลื่อนตัวผ่านเกาะฮนชู

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "ชบา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  3. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2547 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[3]
  5. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Japan Meteorological Agency | RSMC Tokyo - Typhoon Center | Technical Review No.9". www.jma.go.jp (ภาษาอังกฤษ). Japan Meteorological Agency. 2014-02-11. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Monthly Global Tropical Cyclone Summary August 2004". australiasevereweather.com (ภาษาอังกฤษ). August 2004. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  4. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  5. National Climatic Data Center (2000-08-21). "Storm Events Database - Event Details | National Centers for Environmental Information". www.ncdc.noaa.gov (ภาษาอังกฤษ). United States National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 9 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. National Climatic Data Center (2000-08-22). "Storm Events Database - Event Details | National Centers for Environmental Information". www.ncdc.noaa.gov (ภาษาอังกฤษ). United States National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 9 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. National Climatic Data Center (2000-08-24). "Storm Events Database - Event Details | National Centers for Environmental Information". www.ncdc.noaa.gov (ภาษาอังกฤษ). United States National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 9 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Kitamoto Asanobu (2014-02-10). "Digital Typhoon: Typhoon 200416 (CHABA) - Disaster Information". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 主な風水害による被害状況(速報値) (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Fire and Disaster Management Agency. 2005-03-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.
  10. "Loss events in Asia 1980 – 2013" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Munich Re. January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-21. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015.
  11. Kitamoto Asanobu (2014-02-11). "Digital Typhoon: Typhoon Damage List". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. Kitamoto Asanobu (2014-02-10). "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2004-936-17)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. Agence France-Pesse (2014-02-11). "Typhoon Chaba pounds southern Japanese island, cutting power" (ภาษาอังกฤษ). Tokyo, Japan: ReliefWeb. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. Kitamoto Asanobu (2014-02-10). "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2004-827-28)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. Kitamoto Asanobu (2014-02-11). "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2004-830-04)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. Kitamoto Asanobu (2014-02-11). "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2004-819-14)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. Kitamoto Asanobu (2014-02-11). "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2004-817-17)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. Kitamoto Asanobu (2014-02-11). "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2004-807-09)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. Kitamoto Asanobu (2014-02-11). "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2004-815-14)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. Kitamoto Asanobu (2014-02-11). "Digital Typhoon: Weather Disaster Report (2004-887-21)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]