ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นนิดา (พ.ศ. 2547)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นนิดา
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นดินโด
พายุไต้ฝุ่นนิดาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว13 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
นอกเขตร้อน21 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
สลายตัว22 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต31 ราย
ความเสียหาย$1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2547 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นนิดา (อักษรโรมัน: Nida)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นดินโด (ตากาล็อก: Dindo)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสามรองจากพายุไต้ฝุ่นเตี้ยนหมู่ และพายุไต้ฝุ่นชบา และเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดต่อทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเซ็บในปี พ.ศ. 2541 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 อยู่ทางตะวันออกของประเทศปาเลา หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ และกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พายุโซนร้อนนิดาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และเผยให้เห็นตาพายุที่กำลังปรากฏขึ้น พายุไต้ฝุ่นนิดามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท) หลังจากนั้นพายุก็เริ่มเปลี่ยนทิศทางไปทางทิศเหนือมากขึ้นเมื่อเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดคาตันดัวเนส และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นพายุโซนร้อนนิดาก็ได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และพายุสลายไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่น

การกระจายความรุนแรงของลมกับฝนในแนวนอนจากพายุไต้ฝุ่นนิดา อัตราน้ำฝนในบริเวณกึ่งกลางมาจากเรดาร์วัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนชื้นในขณะที่อัตราน้ำฝนในเขตรอบนอกมาจากเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบภาพไมโครเวฟ อัตราน้ำฝนซ้อนทับบนข้อมูลอินฟราเรดจากเครื่องสแกนแบบมองเห็น และอินฟราเรด ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนแสดงให้เห็นว่าพายุยังคงก่อตัวขึ้นอยู่เรื่อย ๆ โดยยังไม่มีหลักฐานใด ๆ เพราะยังเป็นแค่พายุโซนร้อน และอัตราน้ำฝนระดับปานกลางส่วนใหญ่อยู่ใกล้ศูนย์กลางของพายุ หลักจากนั้นพายุไต้ฝุ่นนิดาก็จัดระเบียบได้ดีขึ้น และมีแถบคาดมากขึ้นในทุ่งฝน แม้ว่าตาพายุจะยังสมบูรณ์ได้ไม่ดีก็ตาม ศูนย์กลางของพายุลูกนี้น่าจะแสดงผลของการถูกรบกวนโดยภูมิประเทศเมื่อพายุเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดคาตันดัวเนส และเครื่องสร้าง��าพไมโครเวฟแสดงให้เห็นตาพายุที่มีรูปร่างเกือบสมบูรณ์พร้อมบริเวณที่มีฝนตกหนัก[1]

พายุไต้ฝุ่นนิดาทำให้เกิดน้ำท่วม และดินถล่มในเขตบีโคลของเกาะลูซอน จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 ราย และมีผู้อพยพประมาณ 1,000 คน ขณะที่พายุอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น[2] โดยรวมแล้ว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 31 ราย และเกิดความเสียหายประมาณ 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 4]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นนิดา

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นนิดา

  • วันที่ 12 พฤษภาคม บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในร่องมรสุม และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศปาเลาประมาณ 350 กิโลเมตร (220 ไมล์) ภาพถ่ายดาวเทียมเผยให้เห็นการไหลเวียนในระดับต่ำที่อ่อนแอในขั้นต้น แต่สามารถมองเห็นความลาดเอียงได้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 5] ได้คาดการณ์ว่าพายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างช้า ๆ
  • วันที่ 13 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในตอนเย็น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ถูกกำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 04W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ในช่วงเวลาของการก่อตัวหย่อมความกดอากาศต่ำตั้งอยู่ประมาณ 310 กิโลเมตร (190 ไมล์) ทางตะวันออกของประเทศปาเลา ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (3 ไมล์ต่อชั่วโมง) ภาพถ่ายดาวเทียมควิคเอสซีเอทีแสดงให้เห็นว่าลมของพายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่ใกล้ประมาณ 46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (29 ไมล์ต่อชั่วโมง) และลมแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาพจากดาวเทียมในเวลาต่อมาพบว่ามีการพาความร้อนลึก ซึ่งจัดอยู่เหนือการหมุนเวียนในระดับต่ำ
  • วันที่ 14 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนในช่วงเช้า และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 6] ได้กำหนดให้ใช้ชื่อว่า นิดา
  • วันที่ 15 พฤษภาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุโซนร้อนนิดาได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในเช้าตรู่ และยังคงเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ด้วยเส้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ พายุโซนร้อนกำลังแรงนิดาเริ่มมีตาพายุที่มีลักษณะเป็นเกลียวค่อนข้างชัดเจน และสามารถมองเห็นบริเวณที่คล้ายตาพายุได้ ขณะนี้พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศฟิลิปปินส์อย่างต่อเนื่อง พื้นที่เมฆหนาทึบตรงกลางของพายุไต้ฝุ่นนิดาก็เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น โค้งมนมากขึ้น และโครงสร้างของผนังตาก็เริ่มมีการจัดระเบียบได้อย่างเต็มที่ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (115 ไมล์ต่อชั่วโมง) หรือมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 3 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
    พายุไต้ฝุ่นนิดากำลังเคลื่อนตัวไปทางตอนเหนือใกล้กับเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
  • วันที่ 16 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นนิดาได้กลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 เนื่องจากมีความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ลมกระโชกแรงมาจากศูนย์กลางของพายุอยู่ที่ประมาณ 55 กิโลเมตร (35 ไมล์) และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท) ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าพายุได้พัฒนาตาพายุที่กำลังขยายกว้างประมาณ 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) และพายุกำลังเคลื่อนตัวไ���ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์
  • วันที่ 17 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นนิดาได้เคลื่อนตัวผ่านจังหวัดคาตันดัวเนส จึงทำให้พายุอ่อนกำลังลงในชั่วขณะหนึ่งแล้วเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือมากขึ้น และชะลอตัวลง เมื่อพายุเคลื่อนตัวกลับเข้าสู่น่านน้ำที่อุ่นขึ้นของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก จึงทำให้ลมของพายุกลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งจนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (155 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในทางตะวันออกของเกาะลูซอน
  • วันที่ 18 พฤษภาคม พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นนิดาได้อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นอีกครั้งภายใต้อิทธิพลของลมเฉือนแนวตั้งแรงในทางตอนเหนือของประเทศไต้หวัน และพายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในตอนกลางคืน ภาพถ่ายดาวเทียมอินฟราเรดแสดงให้เห็นว่าตาพายุถูกบดบังด้วยเมฆเซอร์โรสเตรตัสสูง ซึ่งบ่งบอกถึงพายุไต้ฝุ่นนิดาได้อ่อนกำลังลง การพาความร้อนทางตอนเหนือของพายุได้ถูกแยกออกจากกัน แต่ศูนย์กลางยังคงมีการจัดระเบียบได้อย่างดี หลังจากนั้นพายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไต้หวัน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 20 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นนิดาได้อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในตอนเย็น หลังจากนั้นไม่นานก็อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในเช้าวันรุ่งขึ้น

การเตรียมการ

[แก้]

ประเทศไต้หวัน

[แก้]

มีการยกเลิกให้บริการเรือข้ามฟากผู้โดยสารประมาณ 15,057 คน และนักพยากรณ์อากาศที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลาง (CWB) ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นนิดา เนื่องจากแบบจำลองพยากรณ์คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่พายุจะเคลื่อนตัวพัดถล่มประเทศไต้หวัน

ผลกระทบ

[แก้]

ประเทศฟิลิปปินส์

[แก้]
ปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนชื้นจากพายุไต้ฝุ่นนิดา

ก่อนที่พายุไต้ฝุ่นนิดากำลังจะเคลื่อนตัวเข้ามาทำให้ประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย ได้วางมาตรการฉุกเฉินไว้ 8 แห่ง ภายใต้ภาวะฉุกเฉิน และมีการเปิดศูนย์อพยพเพื่อรองรับประชาชนประมาณ 2,986 คน หน่วยยามฝั่งของนครเซบูรายงานว่าเรือยนต์ที่มีผู้โดยสารประมาณ 200 คน ระหว่างทางจากออร์มอค จังหวัดเลเต ไปยังนครเซบู จึงทำให้เรือยนต์ไม่สามารถทนต่อคลื่นทะเลได้อีกต่อไป เรือยนต์ถูกพลิกคว่ำโดยคลื่นทะเลขนาดใหญ่ และอยู่ห่างจากฝั่งไม่ถึง 2 กิโลเมตร (1 ไมล์) ในขณะนั้น ผู้โดยสารอย่างน้อย 70 คน ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยยามฝั่ง และเรือใกล้เคียง จึงทำให้พบผู้เสียชีวิตประมาณ 6 ราย นอกจากนี้ ผู้รอดชีวิตเห็นผู้เสียชีวิตลอยอยู่ในทะเล และยังมีรายงานอีกว่าผู้โดยสารบางคนอาจติดอยู่ในห้องโดยสารเมื่อเวลาประมาณ 14:35 น. (07:35 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของเมื่อวานนี้ ทางตอนใต้ของจังหวัดคามารีเนสซูร์ได้ถูกน้ำท่วม เนื่องจากฝนตกหนักเป็นเวลาหลายวัน และทำให้เกิดดินถล่มในพื้นที่ชนบท 3 แห่ง บ้านเรือนประมาณ 700 หลัง ถูกฝัง หรือถูกดินโคลนซัดออกไปในจังหวัดคาตันดัวเนส เนื่องจากฝนตกหนัก มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย จากฟ้าผ่าในซันโฮเซเดอบูเวนาบิสตา จังหวัดอันตีเก และชาวประมงอีกประมาณ 3 ราย ได้สูญหายไป ผู้คนประมาณ 18,000 คน พลัดถิ่นทางตอนใต้ของเกาะลูซอน และทางตะวันออกของวิซายัส ในช่วงสองวันที่ผ่านมา[5]

พายุไต้ฝุ่นนิดากำลังเคลื่อนตัวออกจากประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นนิดาได้ก่อตัวพายุทอร์นาโดที่สร้างความเสียหายมูลค่าประมาณ 3.6 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (65,054 ดอลลาร์สหรัฐ) ในกิมบา จังหวัดนูเอวาเอซีฮา และเกิดฝนตกหนักทั่วทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีรายงานปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 270 มิลลิเมตร (11 นิ้ว) ในออมเบา ในขณะที่จังหวัดคามารีเนสซูร์ได้รับน้ำฝนประมาณ 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว) และน้ำฝนส่วนที่เหลือในประเทศฟิลิปปินส์ได้รับไปประมาณ 372 มิลลิเมตร (15 นิ้ว)[6][7] ระหว่างที่พายุกำลังเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในหมู่เกาะคาโมเตส จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 9 ราย และมีผู้สูญหายประมาณ 5 ราย บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 5,938 หลัง และบ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างหนักอีกประมาณ 4,071 หลัง และทำให้ประชาชนประมาณ 11,000 คน ต้องพลัดถิ่นในกิมบา จังหวัดนูเอวาเอซีฮา เรือข้ามฟากได้ล่มจมในขณะที่พายุไต้ฝุ่นนิดากำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ จึงทำให้ลูกเรือประมาณ 13 คน ได้รับการช่วยเหลือเมื่อเรือเกยตื้นใกล้เกาะลูซอน ภาพข่าวทางโทรทัศน์ได้เผยให้เห็นต้นไม้จำนวนมากถูกถอนรากถอนโคน เสาไฟฟ้าโค่นล้มกลางถนน และหลังคาบ้านบางหลังถูกลมแรงพัดปลิว โดยรวมแล้ว พายุไต้ฝุ่นนิดาได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 31 ราย และสร้างความเสียหายทั้งหมดต่อโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง พื้นที่เกษตรกรรม และทรัพย์สินอยู่ที่ประมาณ 72 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั่วทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์[8][9]

ประเทศญี่ปุ่น

[แก้]

ฝนตกหนักที่เกิดจากแถบนอกของพายุโซนร้อนนิดาที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และดินถล่มในจังหวัดฟูกูชิมะ ทางหลวงหลายสายได้ปิดตัวลง เนื่องจากน้ำขึ้นสูง และบ้านเรือนบางหลังก็ถูกน้ำท่วมในมิโตะ จังหวัดอิบารากิ[10] บ้านเรือนประมาณ 360 หลัง ได้ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีไฟฟ้าใช้ หลังจากที่เกิดลมแรงทำให้สายไฟของเสาไฟฟ้าได้ขาดเสียหาย[11] นอกเหนือจากโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง สภาพอากาศแปรปรวนที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างทางอากาศส่งผลกระทบให้เที่ยวบินหลายเที่ยวถูกยกเลิกในเกาะมินะมิไดโต[12] สถานีตรวจอากาศในจังหวัดโอกินาวะที่ดำเนินการโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกได้รายงานความเร็วลม สูงสุด 115 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 972 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.7 นิ้วของปรอท) ปริมาณน้ำฝนโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 32 มิลลิเมตร (1.25 นิ้ว) และปริมาณน้ำฝนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 71 มิลลิเมตร (2.79 นิ้ว) ไม่มีรายงานความเสียหาย ผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิต

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "นิดา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 12 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ดินโด" (13 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  3. ความเร็ว���มเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2547 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  5. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[3]
  6. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Typhoon Nida". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2004-05-18. สืบค้นเมื่อ 18 May 2004.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Typhoon Nida". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2004-05-19. สืบค้นเมื่อ 19 May 2004.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  4. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  5. Fang-Ching Chien; Ben Jong-Dao Jou; Pay-Liam Lin & Jing-Shan Hong (2004-05-28). "A Real-time MM5/WRF Forecasting system in Taiwan" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). University Corporation for Atmospheric Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 May 2006. สืบค้นเมื่อ 26 September 2006.
  6. Gary Padgett (2010-04-12). "May 2004 Monthly Global Tropical Cyclone Summary" (ภาษาอังกฤษ). Australia Severe Weather via the Internet Wayback Machine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2004. สืบค้นเมื่อ 12 April 2010.
  7. Galvin, J. F. P. (2005-03-01). "Typhoon Nida and its effects in the Philippines". Weather (ภาษาอังกฤษ). 60 (3): 71–74. doi:10.1256/wea.146.04. สืบค้นเมื่อ 1 March 2005.
  8. ":: STY NIDA Summary > May 13-22, 2004 ::". www.typhoon2000.ph (ภาษาอังกฤษ). 2004-05-20. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Nida's impact on the Philippines" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). World Meteorological Organization. 2004-05-20. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "Fukushima Prefecture Damage Report for Typhoon Nida". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "Mito, Ibaraki Damage Report for Typhoon Nida". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "Kagoshima Prefecture Damage Report for Typhoon Nida". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]